ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เอมอร จ่าภา โรงพยาบาลปทุมรัตต์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแล, การคลอดก่อนกำหนด, สตรีตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกมาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสียงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราการคลอดก่อนกำหนด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ซึ่งเข้ารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลปทุมรัตต์ จำนวน 30 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 15 ราย ได้รับการดูแลตามโปรแกรมฯ  ส่วนกลุ่มควบคุม จำนวน 15 ราย ได้รับคู่มือเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยติดตามอายุครรภ์เมื่อเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอายุครรภ์เมื่อคลอด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Z –test 

ผลการวิจัยพบว่า:  สตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโปรแกรมฯ  มีสัดส่วนการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไม่แตกต่างกัน (p =.143) แต่มีสัดส่วนการคลอดก่อนกำหนดแตกต่างกัน (p = .049) โดยสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่ออัตราการคลอดก่อนกำหนดที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีสัดส่วนการคลอดปกติถึงร้อยละ 88.0  (95% CI; 0.12, 0.89) และความพึงพอใจต่อโปรแกรมฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.60,SD= 10.4)  

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการจัดโปรแกรมฯ โดยการให้ความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร่วมกับการติดตามและการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ ส่งผลให้สัดส่วนการคลอดปกติเพิ่มขึ้น

References

Somprasit, J. (2014). Preterm Labor. Suwanruk, K. & Pongrojpao, D. (Editor). Complication in Obstetrics (217-233), Samudsakorn: Pimdee. (in Thai)

World Health Organization [Internet]. World Prematurity Day 2012 (Publication No. 20121117); 2012. [Cited September 18, 2019]. Available from: http://www.who.int/pmnch/media/news/2012/20121117_world_prematurity _day/en/index1.html

Boonyakiat, S. High Risk Maternal Nursing Care 1. Bangkok: Sintana Copy Center, 2014.

Public Health Institute. (2009). Live Birth Statistics Arranged by Birth weight, Maternal Age, & Gender 2015. Retrieved August 15, 2016, from http://203.157.19:191. (in Thai)

โรงพยาบาลปทุมรัตต์. รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ปี พ.ศ.2563. กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด, 2563.

สุพัตรา ปิ่นแก้ว, เอมพร รตินธร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, วิบูลย์ เรืองชัยนิคม. ผลของโปรแกรมการดูแถสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและอัตราการคลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 2 (4): 59-71.

Freda, M. C. (2003). Nursing's contribution to the literature on preterm labour and birth, Journal of Obstetrics Gynecology and Neonatal Nursing, 32(5),659-667.

สายฝน ชวาลไพบูลย์. ตำราคลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลิฟวิ่งจำกัด, 2553.

Bouyer M, Bagdassarian S, Chaabanne S, Mullet E. Personality correlates of risk perception. Risk analysis. 2001; 21(3): 457-65

Sitkulanan P. Nursing care of women at risk for preterm labour. Journal of nursing science 2007; 25(2): 4-12.

Rosenstock, M. I., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and health belief model. Health Education Quarterly 1988; 15(2): 75-138.

เบญจวรรณ ละหุการ, อุทุมพร ดุลยเกษม, ศศิกานต์ กาละ. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า: แนวคิดและการนำไปใช้ลดความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2562; 27 (3) : 303-11.

กรรณิกา ฉายยิ่งเชี่ยว, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข 2560; 26(3): 196-207.

อทิตยา สุวรรณสาร, นิลุบล รุจิรประเสริฐ. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำในหญิงตั้งครรภ์หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562; 37 (2): 93-102.

ปิยะพร กองเงิน, วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา, กาญจนา สมบัติศิรินันท์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและสามีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31(3): 67-82.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nurs 1991; 16: 354-61.

รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ. ผลของการบำบัดทางการพยาบาลต่อการจัดการเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาช้ำและอายุครรภ์เมื่อคลอดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01