การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสที ยก ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสทียก, การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด เอสที ยก ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด กรณีศึกษา 2 ราย
วัสดุและวิธีการวิจัย: เป็นกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด เอสที ยก ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยศึกษาประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ การวางแผนการพยาบาลตามแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนและแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ปัญหาการพยาบาลรวมถึงการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่ 1 เป็น Anterior Wall STEMI เกิดเลือดออกบริเวณเหงือกซึมตามไรฟัน อาการไม่รุนแรง ประเมินและให้การพยาบาล รายงานแพทย์ให้การรักษา ผู้ป่วยปลอดภัย กรณีศึกษาที่ 2 เป็น Inferior Wall STEMI เกิดภาวะ Cardiogenic Shock และ Short run VTพยาบาลประเมินอาการอย่างรวดเร็ว แปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพรายงานแพทย์ทันที ให้การรักษาพยาบาลที่ถูกต้องรวดเร็ว และส่งต่อผู้ป่วยอย่างปลอดภัย
สรุป : ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทั้ง 2 ราย มีความแตกต่างของตำแหน่งกล้ามเนื้อหัวใจตาย ได้รับการประเมินสุขภาพ การคัดกรองและปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์โดยพยาบาลเป็นผู้ดูแล มีสมรรถนะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง รายงานแพทย์ ให้การรักษาทันที ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
References
ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล และคณะ. Acute Coronary Syndrome. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2560.
สุรพันธ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับ ปรับปรุง ปี2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.
Thygesen K, Alpert JS, Simoons ML, Chaitman BR, White HD, et al. Third universal definition of myocardial infarction. Circulation, 2012; 16(20): 126 -35.
ธนวัฒน์ เบญจานุวัตรา. 2012 Update Coronary Revascularization.ใน อภิชาต สุคนธสรรพ์, ศรัณย์ ควรประเสริฐ (บรรณาธิการ). Cardiovascular medicine: the new balance , เชียงใหม่: ทริค ธิงค์, 2555 :155-66.
อภิชาต สุคนธสรรพ์. ESC Guideline for the Management of Acute Coronary Syndrome In Oatients Presenting without Persistent ST-segment elevation ใน อภิชาต สุคนธสรรพ์, ศรัณย์ ควรประเสริฐ (บรรณาธิการ). Cardiovascular medicine: the new balance. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์, 2555 : 95-122.
Antman EM, Cohen M, Bernink PJ, et al. TIMI risk score for unstable angina/non-ST-Elevation MI: a method for prognostication and therapeutic decision marking. JAMA, 2000; 284-835.
กัมปนาท วีรกุลและ จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์. 7R การลดอัตราตายในโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนดืพับลิชชิ่ง; 2557.
เทิดไท ทองอุ่น. ตำราสรีรวิทยาเรื่องสรีรวิทยาระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด: Physiology of the cardiovascular system. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง