ผลการใช้ยาประคบสมุนไพรรูปแบบสเปรย์ ที่มีต่อการลดระดับความปวดในผู้ป่วย โรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง โรงพยาบาลจังหาร

ผู้แต่ง

  • ภูมิณรงค์ วาณิชย์พุฒิกุล โรงพยาบาลจังหาร

คำสำคัญ:

ยาประคบสมุนไพรรูปแบบสเปรย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาประคบสมุนไพรรูปแบบสเปรย์ ที่มีต่อการลดระดับความปวดในผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และศึกษาอาการข้างเคียงหลังใช้ผลิตภัณฑ์ยาประคบสมุนไพรรูปแบบสเปรย์

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง

วัสดุและวิธีการวิจัย: ทำการศึกษาในกลุ่มทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน มีการวัดผลระดับความปวดเปรียบเทียบก่อน และหลังการทดลอง ติดตามอาการข้างเคียงหลังใช้ผลิตภัณฑ์ยาประคบสมุนไพรรูปแบบสเปรย์ รวบรวมข้อมูลตามตัวแปรก่อน และหลังการทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

ผลการวิจัย: พบว่ามีประสิทธิผลด้านการลดระดับความปวดได้ดีตั้งแต่การใช้ครั้งแรก ให้กลุ่มทดลองได้รับการฉีดพ่นสเปรย์ยาประคบสมุนไพรให้ห่างจากผิวหนัง 30 เซนติเมตร จำนวน 5 ครั้ง หรือจนทั่วผิวหนังบริเวณกล้ามเนื้อหลังที่มีอาการปวด ทิ้งไว้นาน 30 นาที โดยไม่ต้องล้างออก หลังจากนั้นวัดระดับความปวดด้วย Visual Rating Scales : VRS พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับความปวดเฉลี่ย 3.08 คะแนน กลุ่มควบคุมให้ได้รับยาหลอก (placebo) ด้วยขนาดและวิธีการเดียวกันกับกลุ่มทดลอง พบว่ามีระดับความปวดเฉลี่ย 5.04 คะแนน ติดตามอาการข้างเคียงทั้งสองกลุ่มไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงระหว่างการศึกษา

สรุป: การฉีดสเปรย์ยาประคบสมุนไพร สามารถลดระดับความปวดได้ถึง 1.96 คะแนน และไม่พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีอาการปวดมากขึ้นหลังรับการรักษา มีประสิทธิภาพในด้านลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและมีความปลอดภัยในการใช้

References

สุกัญญา อังศิริกุล, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, วารินทร์ บินโฮเซ็น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.มกราคม - มีนาคม 2559; 24(1): 39-49.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

ณิชาภา พาราศิลป์, ศิรินทิพย์ คำฟู, อรรจน์มน ธรรมไชย. การเปรียบเทียบผลของแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยและแผ่นประคบร้อน ในการรักษาผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง: การทดลองแบบสุ่มและ มีกลุ่มควบคุม. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560; 32(4): 372-8.

พนิดา มากนุษย์, ปิยะนันต์ฝาชัยภูมิ. สเปรย์สมุนไพรบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ.กลุ่มงานการแพทย์แผนไทย. โรงพยาบาลภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ.2560.

ไมตรี กุลบุตร, ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ (๒๕๕๘). ผลบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและความพึงพอใจของตำรับน้ำมันหอมระเหยสูตรผสม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2558; 7 (13): 50-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01