This is an outdated version published on 2022-09-05. Read the most recent version.

การพัฒนาตำรับอาหารพื้นบ้านอีสานเชิงพุทธเพื่อลดภาวะเสี่ยงในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • ดวงดาว สารัตน์ สสอ.เมืองสรวง,รพ.เมืองสรวง
  • ดวงเดือน ศรีมาดี โรงพยาบาลเมืองสรวง
  • ขนิษฐา ทัดเทียมหัด
  • ประภาพร ศรีตะวัน
  • ดอกไม้ งามดั่งนาก

คำสำคัญ:

อาหารปรับสมดุล, อาหารเบาหวาน, ภาวะเสี่ยงเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาตำหรับอาหารพื้นบ้านอีสานเชิงพุทธเพื่อลดภาวะเสี่ยง ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลหนองหิน อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยปฏิบัติการ  

วัสดุและวิธีการวิจัย: มี 4 ขั้นตอน  1)ทำความเข้าใจปัญหา โดย ศึกษาสถานการณ์เบาหวาน และพฤติกรรมการกินของชุมชน 2) กำหนดวิธีแก้ปัญหา ยกร่างรูปแบบ วิพากษ์รูปแบบ 3) ปฏิบัติการแก้ไขปัญหา นำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติกับกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ปรับปรุงแผนทุกระยะ 4) ประเมินผล จำนวนตำรับอาหาร พฤติกรรมการกิน ภาวะเสี่ยงเบาหวานและความสมดุลกรดด่างของร่างกาย

ผลการวิจัย: ได้ตำรับอาหารที่เหมาะสมกับตำบลหนองหิน  7 ประเภท 16 ตำรับ พฤติกรรมการกินเหมาะสมเพิ่มขึ้นแบบ 4 ป. ประเภท ข้าว โปรตีน ไขมัน เหมาะเพิ่มขึ้น  65.7%, 85.7% และ 82.8% ตามลำดับ ปริมาณ กินผัก ได้ 400 กรัม/วัน กินข้าวไม่เกินมื้อละ 2 ส่วน เหมาะสมเพิ่มขึ้น 51.42% และ71.14%  ปรุง กินหวาน  มันเค็ม เผ็ด เหมาะสมเพิ่มขึ้น 74.28%, 65.71%, 71.14% และ 82.85%  ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนมาเลือกกินผักบ้านฤทธิ์เย็นเป็นหลัก  กินอาหารตามตำรับปรับสมดุล 80% เลิกกินผงชูรส 14 ราย ร่างกายสมดุลเหมาะสมเพิ่มขึ้น 94.28% ร่างกายมีภาวะสมดุล 22.85% ด้านภาวะเสี่ยงเบาหวานพบว่า ดัชนีมวลกาย น้ำหนัก น้ำตาล และความดันโลหิต รอบเอว ลดลง 74.28%, 88.57%, 88. 57%, 100% และ 87.50%  ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน 2,000-8,000 บาทต่อเดือน

สรุปและข้อเสนอแนะ: ตำรับอาหารพื้นบ้านอีสานเชิงพุทธจุดเด่นคือ ทำได้ง่ายช่วยลดรายจ่าย เหมาะกับวิถีชีวิตดีต่อสุขภาพ สามารถปรับสมดุลให้กับร่างกายและลดเสี่ยงเบาหวานได้ ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน จึงควรนำไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงและป่วยเบาหวาน เน้นการปรับสมดุลเพื่อให้เป็นฐานที่ดีของสุขภาพ โดยปรับประยุกต์บางกิจกรรมให้เหมาะสมกับพื้นที่

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล . สุขภาพคนไทย 2553. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง; 2553.

สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.). การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2552.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล . สุขภาพคนไทย 2553. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง; 2554.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2560.

ใจเพชร กล้าจน. จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติ เล่มที่ 1. [วิทยานิพนธ์]. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์; 2558.

นัยนา หนูนิล. การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ. ใน สมจิต หนุเจริญกุล, วัลลา ตันตโยธา, รวมพร คงกำเนิด, บรรณาธิการ. การส่งเสริมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติการพยาบาล. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2543. หน้า 147-163.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.

Gibbs, R. Analyzing Qualitative Data. London: SAGE; 2007.

ดวงดาว สารัตน์. การจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาต้นแบบการกินกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน. [การศึกษาอิสระ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

ใจเพชร กล้าจน. จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติ เล่มที่ 2. [วิทยานิพนธ์]. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์; 2558.

สิรญา ธาสถาน . ผลการศึกษาข้อมูลทางสถิติของผู้รับการอบรมค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรมที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เปลี่ยนแปลงเข้าหาปกติ. ใน ใจเพชร กล้าจน. จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติ เล่ม 2. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์; 2558. หน้า 1313-47.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปานร่วมกับมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย.ใน ใจเพชร กล้าจน. จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติเล่ม 2. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์, 2558. หน้า 1352-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01 — Updated on 2022-09-05

Versions