ผลการจัดท่าเพื่อลดความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศิรินทร์ พัฒนวิบูลย์ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
  • กาญจนา บุญชาย โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

จัดท่า, ลดความปวด, ผ่าตัดไส้ติ่ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความปวดก่อนและหลังการจัดท่าในผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ ตึกศัลยกรรม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จากผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด ตั้งแต่มกราคม – เมษายน 2562  จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติอนุมาน ได้แก่ paired  t- test

ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (70% ) อายุอยู่ระหว่าง 26-55 ปี (50%) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. (46.7%) ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป (36.7%)  และไม่มีโรคประจำตัว (93.3%)  หลังการพัฒนา ผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบมีคะแนนเฉลี่ยของความปวดลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนพัฒนา (p<0.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความปวดลดลงเท่ากับ 1.47 คะแนน (95% CI; 0.91 – 2.01)

สรุปและข้อเสนอแนะ :ผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ  มีอาการปวดแผลผ่าตัด ดังนั้นบทบาทของพยาบาลที่สำคัญคือการดูแลให้ผู้ป่วยสุขสบาย โดยการจัดท่านอนหงายศีรษะสูง กึ่งนอน กึ่งนั่งสามารถลดอาการปวดแผลหลังการผ่าตัดได้ดี

References

พัชรียา ไชยลังกา. ตำราการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ 1 (อายุรศาสตร์). ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: เอส ซี วี บิสสิเนสส์; 2543.

พงศ์ภารดี เจาฑะเกษตริน. ชุดตำราพื้นฐานความปวด เล่มที่ 1: Pain: ความปวด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ทิมส์ ประเทศไทย; 2547.

บุปผา โคตะนิวงษ์. การพัฒนาเครื่องมือประเมินความปวดแบบเฉียบพลัน สำหรับพยาบาลในหออภิบาลผู้ป่วยระยะวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.

ลดา ไชยแก้ว. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความสามารถของพยาบาลในการจัดการกับความปวดแก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัด [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.

วชิราพร สุนทรสวัสดิ์. พฤติกรรมการดูแลของพยาบาลในการจัดการความปวดตามการรับรู้ของพยาบาลและผู้ป่วยที่มีความปวดหลังผ่าตัด. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2545.

Melzack, R., & Katz, J. Pain measurement in persons in pain. In P. D. Wall, & R. Melzack (Eds.), Textbook of pain . London: Harcourt Publisher. 1999: 409-26.

บำเพ็ญจิต แสงชาติ และคณะ. รายงานการวิจัยทางเลือกในการบริหารจัดการกับความปวดในผู้ป่วยที่มีความปวด : ผลของการสร้างจินตภาพ. ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงการสนับสนุนจากทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

บำเพ็ญจิต แสงชาติ และคณะ. รายงานการวิจัยผลของการสร้างจินตภาพต่อความปวดและความซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็ง.ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงการสนับสนุนจากทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

นวลสกุล แก้วลาย. การวิเคราะห์เมตตาเกี่ยวกับวิธีการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด[วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01