ผลของการทำกลุ่มครอบครัวต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สมพักตร์ จรทอง โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
  • โชคนิติพัฒน์ วิสูญ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลคนไข้, ผู้ป่วยระยะท้าย, ความเครียด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายทั้งก่อนและหลังการประชุมกลุ่มครอบครัวผู้ป่วยระยะท้าย

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่ขึ้นทะเบียนในโรงพยาบาลสุวรรณภูมิภายโดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แกแบบสอบถามเพื่อประเมินความเครียด ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลและแบบสอบถามประเมินความเครียดซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาด ที่ 0.76 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test

ผลการวิจัย: หลังการพัฒนา กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนพัฒนา (P < .001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดลดลงเท่ากับ 15.17 คะแนน  (95% Cl : 12.15, 18.17)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรให้มีการจัดตั้งหน่วยการให้บริการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบสมบูรณ์ ให้บริการทุกวันไม่มีวันหยุด มีบริการนอกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง มีพยาบาลประจำที่คอยให้บริการและให้คำปรึกษาช่วยเหลือญาติและผู้ป่วยเมื่อมาติดต่อ เพื่อความรวดเร็วทันเวลาและพยาบาลควรให้การดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ผ่านการประเมินความเครียดแล้วพบว่าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงเมื่อได้ดูแลผู้ป่วยไประยะหนึ่งด้วยการจัดกิจกรรมให้ญาติผู้ดูแลได้พบพูดคุยกับญาติรายอื่นๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนการดูแลและวิธีผ่อนคลายความเครียด  ติดตามการดูแลแม้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้ว

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษา แบบประคับประคอง. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. วัฒนธรรม ความตาย กับวาระสุดท้ายของชีวิต คู่มือเรียนรู้มิติสังคมของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ; 2550.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. รายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2555.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2554 -2558. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2556.

ธนเดช สินธุเสก. (2548). การดูแลแบบประคับประคอง. ใน ลักษมี ชาญเวชช์, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2548. หน้า 27-34.

อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน. ใน ภคภร ช่วยคุณูปการ, บรรณาธิการ. รวบรวมองค์ความรู้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2549. หน้า 113-120.

สุมาลี นิมมานนิตย์. ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย. ใน ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย, อิศรางค์ นุชประยูร, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ฉันชาย สิทธิพันธ์. บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย End of life care : Improving care of the dying. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์; 2550. หน้า 24-32.

Lazarus, R. S. & Folkman, S. Sress, Appraisal,and Coping. Newyork. Springer; 1984.

ศุภกาญจน์ โอภาสรัตนากร, มุกตา เตชประพนธ์, บัวหลวง สำแดงฤทธิ์. ความเครียด และการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลรามาธิบดี 2558; 21(2) ; 158-171.

แสงรุ้ง สุขจิระทวี .ความเครียด การเผชิญความเครียด ปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยมะเร็งปอด ที่ได้รับยาเคมีบำบัด. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

สุภาพร จงประกอบกิจ. ความเครียดการเผชิญความเครียดและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับยาเคมีบำบัด. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

จันทกานต์ ช่างวัฒนชัย. ความเครียดและการเผชิญความเครียดในสตรีที่มีผลการตรวจหา มะเร็งปากมดลูกที่ผิดปกติ. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01