This is an outdated version published on 2021-12-03. Read the most recent version.

การพัฒนาต้นแบบสื่อโมเดลอาหารและตารางแลกเปลี่ยนอาหารอีสานสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • ประภาพร สุนธงศิริ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

โมเดลอาหารอีสาน, ตารางแลกเปลี่ยนอาหารอีสาน, เบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาสื่อโมเดลอาหารอีสานและตารางแลกเปลี่ยนอาหารอีสานสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมเดลอาหารอีสาน

รูปแบบการวิจัย : รูปแบบการวิจัยแบบ Research & Development

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารแลกเปลี่ยนจากสื่อโมเดลอาหารอีสาน กลุ่มควบคุม ได้รับการบริการตามปกติของคลินิกเบาหวาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อ โดยใช้ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index)

ผลการวิจัย : หลังการพัฒนาสื่อตามขั้นตอน พืชผักอีสานและเนื้อสัตว์อีสานที่นำมาพัฒนาต้นแบบโมเดล รวม 36 โมเดล ได้แก่พืชผักที่มีการบริโภค (70%) ทั้งหมด 22 รายการ  เนื้อสัตว์ที่มีการบริโภค (70%) ทั้งหมด 10 รายการ ผลไม้ที่มีการบริโภค (70%) ทั้งหมด 4 รายการ และได้ตารางอาหารแลกเปลี่ยนอีสานต่อ 1 หน่วยบริโภค ผลการศึกษา การทดสอบการใช้โมเดลเบื้องต้น พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องอาหารแลกเปลี่ยนอีสานเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ความพึงพอใจต่อการใช้สื่อพบว่าผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อสื่อโมเดลอาหารอีสานในระดับมาก และค่าดัชนีประสิทธิผลได้เท่ากับ 0.80

สรุปและข้อเสนอแนะ : สื่อโมเดลอาหารอีสานที่พัฒนาขึ้น มีผลทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำสื่อโมเดลอาหารอีสานไปใช้ประยุกต์ในการให้ความรู้หมวดอาหารแลกเปลี่ยนผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย; 2560.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2540.

สัมฤทธิ์ สุภามา, สมโชค คุณสนอง. วัฒนธรรมอาหารไทย:ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, รัทนา ทาปา, สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ. แมลงกินได้ ทางเลือกในภาวะเกิดภัยพิบัติ. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 2555;37(1):125-139.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2551.

โภคินทร์ ศักรินทร์กุล. การสร้างและหาประสิทธิผลวิธีสอนเรื่องรายการอาหารแลกเปลี่ยนไทย หมวดผักสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน.วารสารระบบปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว.2552;1(2):6-12.

Borg WR, Gall MD. Educational Research: An Introduction.5th ed. New York: Longman; 1979.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย Food Composition Table of Thais Foods. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.

Bloom BS. Mastery Learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment.1(2) Losangeles. University of California at Los Angeles; 1968.

Best JW. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall; 1981.

เผชิญ กิจระการ, สมนึก ภัททิยธนี.ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.). วารสารวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2545;8;30-36.

อภิวันท์ แก้ววรรณรัตน์. การเขียนแผนการให้ความรู้ทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ชลบุรี: โรงพิมพ์ชลบุรีการพิมพ์; 2546.

ภัทรนิษฐ์ ทองแท้. การสอนเรื่องอาหารแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนจังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

Murray RB, Zentner PJ. Nursing Assessment and Health Promotion:Strategies Through the Life Span. 5th ed. New Jersey: America; 1993.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03

Versions