ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเรื่องโรคหลอดเลือดสมองที่มีต่อความรู้ และการรับรู้ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาล เชียงขวัญ

ผู้แต่ง

  • พอใจ พลพิมพ์ โรงพยาบาลเชียงขวัญ

คำสำคัญ:

โปรแกรมสุขศึกษา, โรคหลอดเลือดสมอง, ความรู้, การรับรู้, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้การรับรู้โอกาสเสี่ยงและการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเชียงขวัญ

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอายุ 40 - 60 ปี ที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการเลือกการสุ่มแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้กระบวนการกลุ่มจำนวน 6 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test กำหนดค่านัยสำคัญที่ p<.05

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (56.66%) อายุตั้งแต่ 51-60 ปี หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอายุ 40 - 60 ปี มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001);  คะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .02)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ และการรับรู้เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรนำโปรแกรมฯ นี้ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างอื่นๆ ต่อไป

References

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. โรงพยาบาลศิริราช. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมอง[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.ค.64]. เข้าถึงได้จาก:https://si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1256_1.pdf

สมศักดิ์ เทียมเก่า. ความเป็นมาของการพัฒนาระบบบริการโรคหลอดเลือดสมองในเขตสุขภาพที่ 7 (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์). วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. 2562;18(1):25-41.

วิยะการ แสงหัวช้าง. ผลของการให้ความรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม และการติดตามทางโทรศัพท์ ต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2556;30(4):260-73.

ชลธิชา กาวไธสง, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลชุมพวง อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2557;29(3):295-303.

บุญยนุช บานเย็น, วารุณี สุดตา. การรับรู้ภาวะหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลมะขามล้ม จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2563;13(1):93-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30