ผลของรูปแบบการให้บริการในการควบคุมระดับฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะ (HbA1C) ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ สิงห์ยะเมือง โรงพยาบาลเกษตรวิสัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการให้บริการ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ระดับฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะ(HbA1C)

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการให้บริการในการควบคุมระดับฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะ (HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เครือข่ายสุขภาพอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental group) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Two –group pretest-posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 60 คน รวม 120 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับบริการตามรูปแบบการให้บริการคลินิกเบาหวานที่พัฒนาขึ้นและกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตัว และแบบบันทึกระดับฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะ (HbA1C) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อบรรยายคุณลักษณะของข้อมูล และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใช้สถิติ Independent-test    ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย : หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้และการปฏิบัติสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001, 95%CI; 4.491,6.274 และ p<.001, 95%CI;3.758,5.807 ตามลำดับ) และระดับฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะ (HbA1C) ในกลุ่มการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001,95%CI; -1.144,-.372)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการควบคุมระดับฮีโมโกลบินที่น้ำตาลเกาะ (HbA1C)ได้ดีขึ้นดังนั้นจึงควรนำรูปแบบการให้บริการคลินิกเบาหวานนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเบาหวานที่ยังควบคุมดับฮีโมโกลบินไม่ได้ต่อไป

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2.ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. แบบรายงานการตรวจราชการระดับเขตสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2559.

ราม รังสินธุ์, ปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครประจำปี 2555[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/fund_spec90.pdf

เกษร มั่นคง, นิภา กิมสูงเนิน, อำภาพร นามวงศ์พรหม. เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้กับไม่ได้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2559;17(3):54-62.

โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. สรุปรายงานโรคเรื้อรังประจำปี 2558-2561. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล Health Data Center : HDC[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: www.hdcservice.moph.go.th

ประชุมพร กวีกรณ์, ประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559;4(3):307- 24.

สายใจ โพมา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฎพระนครสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558;10(1):108-30.

จำเนียร พรประยุทธ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สมสมัย รัตนากรีฑากุล. ผลของโปรแกรมการชี้แนะต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(4):60-9.

Kong JX, Zhu L, Wang HM, Li Y, Guo AY,Gao C, et.al. Effectiveness of the Chronic Care Model in Type 2 Diabetes Management in a Community Health Service Center in China: A Group Randomized Experimental Study. J Diabetes Res [Internet]. 2019 [cited 2020 Sep 14]; 2019:6516581. Available from: https://doi.org/10.1155/2019/6516581

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. New Jersey: Pearson Education; 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30