การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืด อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, โรคพยาธิใบไม้ตับ, พยาธิตัวตืด, การป้องกันและควบคุมโรคบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคเนื้อปลาและเนื้อสัตว์ และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ และพยาธิตัวตืด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Qua-si experimental study) แบบ Two group pretest posttest design
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำชุมชนจากหมู่บ้านทดลอง จำนวน 262 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วม โดยการวิเคราะห์สภาพปัญหา วางแผน ดำเนินการ และประเมินผล ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และIndependent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05
ผลการวิจัย : หลังทดลองพบว่ากลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืด มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับหมู่บ้านควบคุม (p<.001) โดยมี คะแนนเฉลี่ยมากกว่าเท่ากับ 2.35 คะแนน (95%CI;2.07-2.63) ; กลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืด มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับหมู่บ้านควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าเท่ากับ 4.03 คะแนน (95%CI;3.19, 4.67) ; กลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภค มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับหมู่บ้านควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าเท่ากับ 7.68 คะแนน (95%CI;7.66, 8.29) และ กลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืด มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับหมู่บ้านควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าเท่ากับ 8.66 คะแนน (95%CI;7.06, 9.05) ส่วนผลการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืด พบว่า ผลการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืดหลังทดลองในหมู่บ้านทดลองแตกต่างกันกับหมู่บ้านควบคุม (p<.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคเนื้อปลาและเนื้อสัตว์ รวมทั้งพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและพยาธิตัวตืดของแกนนำชุมชนในทางที่ดีขึ้น
References
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. งานระบาดวิทยา. สถานการณ์โรคพยาธิ. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2563.
โรงพยาบาลเต่างอย. สรุปผลการปฏิบัติงาน คปสอ.เต่างอย. สกลนคร: โรงพยาบาลเต่างอย; 2561.
สรญา แก้วพิทูลย์. การแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับด้วย เซส โมเดล. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2559.
วีระพล วิเศษสังข์, รติกร ชาติชนะยืนยง, ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวต่อการลดการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับในกลุ่มวัยแรงงานตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสำนักงานควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560; 24(3): 61-74.
สงกรานต์ นักบุญ. รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่จังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
กิตติศักดิ์ ประครองใจ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วมตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.
วรลักษณ์ เวฬุ, เทิดศักดิ์ พรหมอารักษ์, จมาภรณ์ ใจภักดี. รูปแบบการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562; 5(2):107-19.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง