การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ชุลีลักษณ์ หนูเสน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research approach) ตามขั้นตอนการมองปัญหา (Look) การคิดพิจารณา (Think) และการลงมือปฏิบัติ (Act)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 2,000 คน และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 1,000 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.46-0.78 และโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Paired t-test และ Percentage difference กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 2,000 คน พบว่า ปัจจัยเสี่ยงก่อนการพัฒนาได้แก่ ดัชนีมวลกายเกิน (22.3%) อ้วนระดับที่ 1-2(36%) รอบเอวชายเกิน (24.2%) รอบเอวหญิงเกิน(89.4%) ความดันโลหิตตัวบนเป็นกลุ่มเสี่ยง(18.3) และกลุ่มสงสัยป่วย(13.9%) ความดันโลหิตตัวล่างเป็นกลุ่มเสี่ยง(21.8%) และกลุ่มสงสัยป่วย(16.5%) ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นกลุ่มเสี่ยง(33.0%) และกลุ่มสงสัยป่วย(13.2%) และพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับต่ำและปานกลาง (48.6%) หลังจากนั้นจึงนำมาจัดลำดับความสำคัญและให้ความหมายของปัญหา โดยการสนทนากลุ่ม พบว่า ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การงดสูบบุหรี่ และการงดดื่มสุรา เป็นระยะเวลา 3 เดือน และผลการพัฒนาพบว่าระดับความดันโลหิตอยู่ในกลุ่มปกติเพิ่มขึ้น(21.20%) กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีดัชนีมวลกายลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา (p<.001)โดยมีดัชนีมวลกายลดลงเท่ากับ 0.32 kg/m2 (95%CI; 0.26, 0.39)  รอบเอวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา(p<.001)โดยมีรอบเอวลดลงเท่ากับ 0.81 เซนติเมตร (95%CI; 0.54, 1.07) และระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเท่ากับ 7.51 mg/dl (95%CI;6.20, 8.82)

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

References

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยยึดชุมชนเป็นฐาน:ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (CBI NCDs) : นนทบุรี. สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 (Public Health Statistics A.D.2018). นนทบุรี:กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2561.

เกษฏาภรณ์ นาขะมิน, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์, เพชรไสว ลิ้มตระกูล. วิธีการป้องกันโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.2556;31(1):43-51.

ณิชาพัฒน์ เรืองสิริวัฒก์, ปาหนัน พิชยภิญโญ, สุนีย์ ละกำปั่น.ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2556;27(1):74-87.

อรุณี ผุยปุ้ย, วันเพ็ญ ปัณราช. การพัฒนาแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดพิจิตร. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(4):80-88.

วัฒนา สว่างศรี, ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่.การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2558;16(1):116-122.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองสุขศึกษา.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2556.

Stringer ET. Action research(Third Edition).3rd ed. Los Angeles: Sage; 2007.

Stringer ET., Christensen LM., Baldwin SC. Integrating Teaching, Learning, and Action Research: Enhancing Instruction in the K-12 classroom. Los Angeles: Sage; 2009.

World Health Organization. Innovative care for chronic conditions: building blocks for action: global report. Geneva: WHO; 2002.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. นนทบุรี;2563.

Best JW. Research in education : 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hall; 1977.

สมศรี คำภีระ, สมชัย วงษ์นายะ, ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในจังหวัดตาก. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.).2559;22(1):119-32.

นวลนิตย์ ไชยเพชร, อุดมศิลป์ แก้วกล่ำ, สิทธิพงษ์ สอนรัตน์, ยุวดี วิทยพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชนโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(2):45-62.

จันทกานต์ วลัยเสถียร, เมยุรี ประสงค์, มาลัย นาคประกอบ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร.9. 2564;27(1):46-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30