การพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง, การพัฒนาระบบบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบและศึกษาผลของระบบการดูแลต่อเนื่องแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน 54 คน ผู้ดูแลหลัก 30 คน ทีมสหวิชาชีพ 10 คน พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 30 คน รวม 124 คน ดำเนินการเดือนเมษายนถึงสิงหาคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองฉบับสวนดอก แบบประเมินความพึงพอใจของญาติและทีมสหวิชาชีพต่อระบบการดูแลต่อเนื่องแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.7 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า : 1)สภาพปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 5 ด้าน 2)ระบบการดูแลประกอบด้วยขั้นตอนการประเมินอาการทางกายการดูแลด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ ความเครียดผู้ดูแลหลัก และคู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและ 3)ความพึงพอใจของผู้ดูแลหลัก และทีมสหวิชาชีพต่อการใช้ระบบการอยู่ในระดับมาก
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ดังนั้นควรนำระบบดังกล่าวไปกำหนดเป็นนโยบายในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายครอบคลุมทั้งเครือข่ายต่อไป
References
World Health Organization. Planning and implementing palliative care services: A guide for programme managers. Geneva: World Health Organization; 2016.
ชุติกาญจน์ หฤทัย, ศิริมา ลีละวงศ์, อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, โศภิษฐ์ สุวรรณเกศาวงษ์. ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. ปทุมธานี:สื่อตะวัน; 2559.
Dowing MG.Medical Care of the Dying, 4th ed.Victoria: Victoria Hospice Society; 2006.
ศศิวิมล ปานุราช, เยาวรัตน์ มัชฌิม, บวรลักษณ์ ทองทวี. ความรู้ในการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลในพื้นที่เครือข่ายสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขตบริการที่ 4 และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. ใน:การประชุมวิชาการระดับชาติมศววิจัยครั้งที่ 11มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; วันที่ 29-30 มีนาคม 2561; ณ อาคารนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561. หน้า 1070-82.
Ayed A., Sayej S, Harazneh L., Fashafsheh I., EqtaitF.The Nurses' knowledge and Attitudes towards the Palliative Care.Journal of Education and Practice. 2015;6(4),91-9.
สมจิตรประภากร, ศิริพรสวยพริ้ง, อัญชลีสุขขัง, ศุภรักษ์มั่นน้อย, วราภรณ์พันธุ์อร่าม, สุจิราฟุ้งเฟื่อง. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ. วารสารกองการพยาบาล. 2558;42(3),50-66.
Stewart K., Doody O., Bailey M., Moran S. Improving the quality of nursing documentation in a palliative care setting: a quality improvement initiative. International Journal of Palliative Nursing. 2017;23(12),577-85.
ฐิติมา โพธิ์ศรี. การดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตจากโรงพยาบาลสู่บ้าน [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง