ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และรอบเอว ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนิเวศน์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, การออกกำลังกาย, รอบเอว, กลุ่มเสี่ยงเบาหวานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนิเวศน์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลัง
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental group) และเปรียบเทียบ (Compare group) กลุ่มละ 31 คน จำนวน 62 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า และเกณฑ์คัดออก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพปกติตามรูปแบบเดิม ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย : หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มเสี่ยงเบาหวานในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.18 คะแนน (95%CI;1.94, 2.43) กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกายมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.75 คะแนน (95%CI;0.49, 1.00) และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ยรอบเอวไม่แตกต่างกัน (p=.967)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรนำโปรแกรมนี้ใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
References
วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : นโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
ทักษพล ธรรมรังสี, สิรินทร์ยา พูลเกิด, สุลัดดา พงษ์อุทธา. อ้วนทำไม ทำไมอ้วน: สถานการณ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2554;20(1):124-42.
World Health Organization. Global status report on noncommunicable diseases 2010. [Internet]. Switzerland; 2011 [cited 2021 Apr 15]. Available from: https://www.who.int/nmh/publications/ncd_report_full_en.pdf
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิเวศน์. รายงานประจำปี 2562. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล; 2562.
กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.
Diabetes Prevention Program Research Group. Description of lifestyle intervention. Diabetes Care. 2002;25(12):2165-71.
ธนพันธ์ สุขสอาด, วรรณสุดา งามอรุณ, วิชชุกร สุริยะวงศ์ ไพศาล. รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2 Kick off to the goals. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศกระทรวงสาธารณสุข: 2557.
Cohen, J. A power primer. Psychological Bulletin. 1992;112(1):155-9.
ทรงเดช ยศจำรัส. ผลการพัฒนาความสามารถของตนเองและการตั้งเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใน โรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
นุสรา บุญทศ. การเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2556.
ไชยยา จักรสิงห์โต. ประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน [วิทยานิพนธ์]. ฉะเชิงเทรา:มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์;2560.
Best, J.W. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.
ดารณี ทองสัมฤทธิ์, กนกวรรณ บริสุทธิ์, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2560; 28(1):26-37.
Bandura, Albert. Social learning theory. New Jersey: Prentice Hall; 1977.
ยุวดี รอดจากภัย, สมพล กิตติเรืองเกียรติ, ประสิทธิ์ กมลพรมงคล. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2555;7(2):116-23.
สมหวัง โชติขุนทด, สมจริง ถึกสูงเนิน, นัฐพร กกสูงเนิน . ผลของการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกายและ เส้นรอบวงเอวของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตำบลโป่งแดง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2558;1(1):50-7.
Haffner, MS. Abdominal obesity, insulin resistance, and cardiovascular risk in pre-diabetes and type 2 diabetes. European heart journal supplements 2006;8(B):20-5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง