รูปแบบการจัดการด้านยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ ปราบนอก โรงพยาบาลเชียงขวัญ

คำสำคัญ:

การจัดการด้านยา, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, เครือข่ายบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดการด้านยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และทีมสหวิชาชีพ  จำนวน 18 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในขั้นตอนประเมินผลลัพธ์   จำนวน 51 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า(Inclusion criteria) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการให้คำปรึกษา และแบบประเมินความร่วมมือการใช้ยา  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติทดสอบ Paired –Samples t-test

ผลการวิจัย : การจัดการด้านยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเครือข่ายบริการอำเภอ         เชียงขวัญ ประกอบด้วยกิจกรรมการสร้างความตระหนัก (Awareness) การให้คำปรึกษาโดยเภสัชกร (Counseling) การใช้นวัตกรรมช่วยในการใช้ยา (Innovation) และการมีส่วนร่วมเครือข่ายในชุมชน (Network) และการประเมินผลลัพธ์ พบว่า ส่วนใหญ่ปัญหาการใช้ยาลดลง  หลังการใช้รูปแบบการจัดการด้านยาฯ พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นเท่ากับ 9.52 คะแนน (95%CI;8.34, 10.71) และผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเท่ากับ 111.65 mg/dl (95%CI;131.85, 91.44)

สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดการด้านยาส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานให้ความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้น และปัญหาการใช้ยาและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

References

International Diabetes Federation. IDF diabetes atlas eighth edition 2017 [Internet]. 2017 [cited 2019Apr 8]. Available from: www.diabetesatlas.org/across-the-globe.html

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2560.

โรงพยาบาลเชียงขวัญ. กลุ่มงานเภสัชกรรม. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2562. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2562.

โรงพยาบาลเชียงขวัญ. กลุ่มงานเภสัชกรรม. รายงานปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2562. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2562.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สาธารณสุขมูลฐาน ระบบบริการปฐมภูมิ และเวชศาสตร์ครอบครัว นิยามความหมาย และความเชื่อมโยง. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว[อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiichr.org/upload/forum/PCFM01.pdf

สำนักงานแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ ปี 2553. กรุงเทพฯ; 2553.

กาญจนาพร วิบูลย์ศิริกุล, ขวัญชัย รัตนมณี. ผลการพัฒนารูปแบบการบริการการจัดการด้านยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563]; 1:24-36. เข้าถึงได้จาก: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/Knowledge/JOMAT/JOMAT-Y01v01S03.pdf

Stringer ET. Action Research (Third Edition). 3rd ed. Los Angeles: Sage; 2007.

เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก, บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์, อุมาพร อุดมทรัพยากุล, เฉลิมศรี นันทวรรณ. การรับรู้ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตามเกณฑ์ และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในญาติสายตรงลำดับแรกของผู้ที่เป็นเบาหวาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2553; 16(2):169-84.

ปัญญา อุ่ยประเสริฐ. ผลของการให้คำปรึกษาผู้ป่วยในผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2547.

ปริตตา ไชยมล, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. ผลของการให้ความรู้โดยเภสัชกรร่วมกับการใช้ภาพถ่ายแสดงวิธีการใช้ยาสาหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย . 2560;9(2):475-88.

ทินกร ศีรษะภูมิ. การพัฒนาระบบบริการโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจังหารจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2551;2(1):106-14.

ภิญยา ไปมูลเปี่ยม, พัชนี อินใจ, วินัย ปันทะนะ, ไชยวัฒน์ น้ำเย็น. การพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนภายใต้บริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาคร อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2559:25(3):394-99.

ศุภาวดี พันธ์หนองโพน. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้รูปแบบการจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญจังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30