ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • รัชนี วงษ์คำ โรงพยาบาลเกษตรวิสัย

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง, ผู้ป่วยประคับประคอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองในคลินิกประคับประคอง

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง(Cross-sectional descriptive study)

วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลักที่ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ที่มารับบริการในคลินิกประคับประคอง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม -มิถุนายน 2563 จำนวน 102 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบวัดภาระการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง(Zarit  Burden Interview (ZBI)-Thai) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแสดงความถี่ ร้อยละ สถิติทดสอบไคสแคว์(Chi-square)กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย : ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองทั้งหมด จำนวน 102 คน อายุเฉลี่ย 46.4 ±11.5 ปีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (69.6%)สถานภาพสมรสคู่(67.7%) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (52.0%)ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  (53.9%) มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเป็นบุตร (57.8%)ส่วนผู้ป่วยประคับประคองอายุเฉลี่ย 68.4± 12.5 ปี  เป็นเพศหญิง (60.8%)และผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองมีคะแนนความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลเฉลี่ย 23.2±12.8 คะแนน ความรู้สึกเป็นภาระน้อยถึงปานกลาง(47.0%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง 2 ปัจจัยได้แก่ การมีคนอื่นช่วยดูแลผู้ป่วยสัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง (p=.014) โดยในผู้ดูแลที่ไม่มีคนช่วยดูแลผู้ป่วยมีแนวโน้มรู้สึกเป็นภาระในการดูแลมากขึ้น และความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง (p=.049) โดยผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ใช่โรคมะเร็งมีแนวโน้มรู้สึกเป็นภาระในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น

สรุปและข้อเสนอแนะ : การดูแลรักษาแบบประคับประคอง ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่ไม่มีคนช่วยดูแลผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่ไม่ใช่มะเร็ง มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับผู้ดูแลที่มีปัจจัยทั้งสองมากขึ้น

 

References

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. ข้อมูลสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf

กิติพล นาควิโรจน์. หลักการของ Palliative care [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเวชศาสตร์ ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จากhttps://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/doctorpalliative1th

World Health Organization (WHO ). Palliative Care. [Internet]. 2019 [updated 2020 Aug 5; cited 2020 Dec 16]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ผู้ป่วยระยะสุดท้าย 40 ล้านคนทั่วโลก มีเพียง 14% เท่านั้น ที่ได้รับการดูแลแบบ Palliative care[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : Hfocus; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก :https://www.hfocus.org/content/2019/05/17152

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สิทธิประโยชน์บัตรทองดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : Hfocus; 2560[เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://www.hfocus.org/content/2017/11/14884

กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล Health Data Center: HDC [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก :https://www.hdcservice.moph.go.th

ดุสิต จันทยานนท์, พัฒน์ศรีศรีสุวรรณ, กองชัยวิเศษดวงธรรม. ทัศนคติและผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้ดูแลในอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.2554;10(1):1-11.

สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. ภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง.วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ- สุรินทร์-บุรีรัมย์. 2559;31(3):140-8.

Weerasak Muangpaisan et al, Caregiver Burden and Needs of Dementia Caregivers in Thailand: A Cross-Sectional Study. J Med Assoc Thai. 2010;93(5):601-7.

สาริกข์ พรหมมารัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา.2558;12(1):57-64.

Zarit, S. H. and Zarit, J. M.. The Memory and Behavior Problems Checklist and the Burden Interview [Internet]. University Park, PA: Pennsylvania State University, Gerontology Center 1990.[updated 1990 ; cited 2020 Dec 16]. Available From : https://www.worldcat.org/title/memory and-behavior-problems checklist and-the burden-interview/oclc/313153663

ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, รัชนี สรรเสริญ,วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแล ผู้ป่วยเรื้อรัง. การพยาบาลและการศึกษา. 2554;4(1):62-75.

Pham ThiHanh. Factors related to caregiver burden among family caregivers of older adults with stroke in HaiDuong,Vietnam. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2017;4(3):45-62.

ศรีนวล ชวศิริ, ธนากร ธนามี. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยเด็กพิการในสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูเด็ก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2561;28(2):54-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30