ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้กิจกรรม “DM day camp” โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ คูนาเอก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, DM day camp

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในการดูแลตนเอง การปฏิบัติตัวในการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด  และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้กิจกรรม “DM day camp”    

รูปแบบการวิจัย: Quasi-experimental study design ; The Pretest-posttest design with non-equivalent groups

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลโพนทอง จำนวน 84 คน  แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 42 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการทำกิจกรรมตามปกติ  ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Descriptive statistics และ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัย: หลังการทดลอง  กลุ่มทดลองคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในการดูแลตนเอง และการปฏิบัติตัวสำหรับการดูแลตนเอง มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001, .001, .001, .001 ตามลำดับ) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 6.09, 2.18, 2.85 และ 2.42 คะแนน  (Mean diff.= 6.09 (95%CI : 5.34, 3.76) ; 18 (95%CI : 2.00, 2.35) ;(Mean diff.= 2.85 (95%CI : 2.38, 2.79) ; (Mean diff.= 2.42 (95%CI : 2.26, 2.58) ตามลำดับ และคะแนนเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar: FBS) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p< .001, .001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยลดลงเท่ากับ 1.67 mg%  และ 31.81 mg%  (Mean diff.= 1.67(95%CI : 0.91, 2.42) ; (Mean diff.= 31.81(95%CI: 26.59, 37.03) ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังและการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเอง เพิ่มขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง

References

สมจิต หนุเจริญกุล. การดูแลตนเอง: องค์ความรู้ของศาสตร์ทางการพยาบาล. ใน: ประชุมวิจัยทางการ พยาบาลแห่งชาติ เรื่องการวิจัยทางการพยาบาล: นวัตกรรมเพื่อสุขภาพของประชาชนไทยในทษวรรษหน้า ครั้งที่ 2 ประจำปี 2544; วันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2544; ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร; 2544.

อุรา สุวรรณรักษ์. การเพิ่มพลังอำนาจต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสทิงพระจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.

สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปี พุทธศักราช 2546. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546.

Chinnawong T. Case management for clients with diabetes mellitus and hypertension in a community. Songklanagarind J Nurs. 2017; 37(1): 148-57. (Thai)

Adler, A., Erqou, S., Lima, T.A, and Robison, A.H. Association between glycated hemoglobin and the risk of lower extremity amputation in patients with diabetes mellitus-review and meta-analysis. Diabetologia 2010; 53(5): 840-9

World Health Organization. Global report on diabetes 2016. [Internet]. 2016 [cited 2020 May 8]. Available from: https://bit.ly/2MiG6hP

American Diabetes Association. Diabetes care at diabetes camps. Diabetes Care 2000; 29(1): 56-8.

Thai National Health Examination Survey V Study Group. Thai National Health Examination Survey, NHES V. Nonthaburi, Thailand: National Health Examination Survey Office, Health System Research Institute, 2016.

Rangsin R, MedResNet. An assessment on quality of care among patients diagnosed with type 2 diabetes and hypertension visiting hospitals of Ministry of Public Health and Bangkok Metropolitan Administration in Thailand. Bangkok, Thailand: National Health Security Office, 2014.

Stratton IM, Adler AI, Neil HA, et al. Association of glycaemia with macro vascular and Micro vascular complications of type 2 diabetes (UKPDS 35): prospective observational study. British medical journal. 2000; 321:405-12.

Susmita Chatterjee, Arthorn Riewpaiboon, Piyanuch Piyauthakit, Wachara Riewpaiboon, Kuanoon Boupaijit, Niphaphat Panpuwong, et al. Cost of diabetes and its complications in Thailand: a complete picture of economic burden. Health and Social Care in the Community 2011; 19(3): 289-98.

โรงพยาบาลโพนทอง. กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม. สรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพ ปี 256-2563. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.

อุษา ทัศนวิน, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. ผลของการเข้าค่ายเบาหวานกลางวันต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล 2553; 25(1) 53-66.

Brink, S.J. Diabetes camping and youth support programs. In: Lifshitz F, ed. Pediatric Endocrinology 1996: 671-6.

American Diabetes Association. Approaches to glycemic treatment. Diabetes Care 2015; 38(Suppl 1): 141-8.

Bandura, A. Self efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological Review 1977; 84: 191-215.

Orem, D.E. Nursing Concepts of Practice. 2nd ed. New York : Mc Graw Hill Book. 1980.

ภรณี ตังสุรัตน์, วิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย 2556. 20(1): 57-69.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส.ของ ผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขภาพภาคประชาชน ธันวาคม 2559 - มกราคม 2560; 12 (1): 17-29

ไชยรัตน์ มูลมณี, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, กวี ไชยศริริ. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการส่งเสริมการออกกำลังกายแบบมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา 2558; 2(1): 67-76.

อัมมร บุญช่วย. ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารการ พัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3(2) : 231 - 244. 2558

Bandura, A. Social foundation of thoughts and action: A social cognitive theory. Englewood Clifts, NJ: Prentice-Hall; 1986.

Lorig, K.R. and Halman, H.R. Self-management education: History, definition, outcomes, and mechanism. Annals of Behavioral Medicine 2003; 26(1): 1-7.

เพ็ญบุญญา สัตยสมบูรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ 2563; 6(1): 165-79.

สมคิด สีหสิทธิ์, ชนิกานต์ คุณวิภูศิลกุล. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมเอวันซี ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาล2555; 61(3): 9-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31