ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลธวัชบุรี

ผู้แต่ง

  • ปาฬิญนค์ โพธิชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, การรับรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลธวัชบุรี

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง(Quasi - experimental study)

วัสดุและวิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 56 คน รวม 112 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการให้สุขศึกษาตามปกติ  ดำเนินการ 12 สัปดาห์  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่  ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test  

 ผลการวิจัย: หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ  (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.21 คะนน (Mean diff.= 1.21; 95%CI; 1.10, 1.30); คะแนนเฉลี่ยการรับรู้มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.05 คะแนน (Mean diff.= 2.05; 95%CI; 1.89, 2.20) ; คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.31 คะแนน (Mean diff.= 2.31;  95%CI; 2.18, 2.44) ; คะแนนเฉลี่ยความดันโลหิต (ตัวบน) ลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีความดันโลหิต     (ตัวบน) ลดลงเท่ากับ 39.42 มิลลิเมตรปรอท   (Mean diff.= 39.42; 95%CI; 32.08, 46.77) และคะแนนเฉลี่ยความดันโลหิต (ตัวล่าง) ลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีความดันโลหิต (ตัวล่าง) ลดลงเท่ากับ 53.67 มิลลิเมตรปรอท (Mean diff.= 53.67; 95%CI;  46.28, 61.07)

สรุปและข้อเสนอแนะ:  ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมฯไปใช้เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

References

World Health Organization. A global brief on hypertension [Internet]; 2013 [cited 2020 January 15] Available from: http://ish-world.com/downloads/pdf/global_brief_hypertension.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารวันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563] . เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable-

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานผลการดำเนินงานประจำงบปีประมาณ พ.ศ.2561. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และพัฒนางานสาธารณสุข; 2561.

โรงพยาบาลธวัชบุรี. สมุดบันทึกสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง, 2561 :20-1.

ศิริพร ขัมภลิขิต, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร, นันทวัน สุวรรณรูป, รัชนี สรรเสริญ, ประภาพร จินันทุยา. คู่มือการสอนการส่งเสริมสุขภาพในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. ใน: ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษา สาขาพยาบาลศาสตรบัณฑิตของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย; 2545.

Pender, N. J. Health promotion in nursing practice (2nd ed.). Hartford, CT: Appleton & Lange; 1987.

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. การส่งเสริมสุขภาพในชุมชนแนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

อำพล จินดาวัฒนะ. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม: มิติใหม่ของการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ; 2551.

กุนนที พุ่มสงวน. สุขภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพ: บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาล ทหารบก 2557; 15 (2): 10-4.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2558.

คณิตตา อินทบุตร. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดัน โลหิตสูงรายใหม่ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. วารสาร สคร.9 ตุลาคม 2562-มกราคม 2563; 26(1):73-83.

จิตชนก หัสดี. การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแนวคิดในการสร้างพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มนายทหารชั้นประทวน กรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

ปิยรัตน์ ชลสินธุ์, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, นรีมาลย์ นีละไพจิตร, นพวรรณ เปียซื่อ. ผลของโปรแกรมควบคุม ความดันโลหิตต่อความเชื่อด้านสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ ปริมาณโซเดียมที่ได้รับ และระดับความดันโลหิต ของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31(4): 64-75.

อรทัย หงส์ศิลา, มณี อาภานันทิกุล, พรทิพย์ มาลาธรรม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อ ความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความดันโลหิตในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสาร สภาการพยาบาล 2561; 33(2): 110-30.

คนึงนิจ เพชรรัตน์, สัญญา ปงลังกา, จุฑามาศ กิติศรี. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุน และให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พยาบาลสาร 2561; 45(1): 37-49.

วิชยา เห็นแก้ว, เบญจมาศ ถาดแสง, มณี กิติศรี, ฉัตรชัย ไวยะกา. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการ ตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2560; 44(ฉบับพิเศษ 2): 60-70.

วิภาพร สิทธิศาสตร์, นิดา มีทิพย์, จันทร์จิรา อินจีน. ผลของโปรแกรมสนับสนุนพฤติกรรมสร้างเสริม สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 29 (1): 153-165.

วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา, สุภาพร แนวบุตร, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรค ความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนและค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของบุคคลกลุ่มเสี่ยง ความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2562; 46(2): 95-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31