ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความชุก, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, น้ำหนักของทารกแรกเกิดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study)
วัสดุและวิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกที่มารับบริการคลอดที่โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานีระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 จำนวน 150 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกจากเวชระเบียน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Fisher’s exact test
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 150 คน พบว่า ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 16 คน (10.70%) และปัจจัยเสี่ยงประวัติการตั้งครรภ์ (จำนวนครั้งของการคลอด) และการดูแลก่อนคลอด (จำนวนครั้งของการฝากครรภ์คุณภาพ) มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักของทารก (p<.001) แต่ปัจจัยเสี่ยงลักษณะของมารดาและประวัติการคลอดไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักของทารกแรกเกิด
สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าจำนวนครั้งของการคลอดและการฝากครรภ์คุณภาพมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิด ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องควรนำปัจจัยเหล่านี้มาเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการเฝ้าระวังทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
References
Stoll BJ, Kliegman RM. Prematurity and Intrauterine Growth Retardation. In:Behrman RE, Uterigman RM,Jensen HB.Nelson textbook of pediatrics:17th ed.Philadelph ia: Saunders, 2004.500-8.
สายฝน ชวาลไพบูลย์. คลอดก่อนกำหนด:ปัญหาระดับชาติ. ใน: สายฝน ชวาลไพบูลย์, บรรณาธิการ.คลอดก่อนกำหนด (Preterm labour). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง; 2553. 3-14.
Goldenberg RL, Culhan JF. Low birth weight in the United States 1’2’3. Am J Clin Nutr 2007; 85: 5845- 905.
Roth J, Hendrickson J, Schilling M, Stowell WD. The risk of teen mothers having low birth weight babies: implications of recent medical research for school health personnel. J Sch Health 1998; 68: 271-5.
สุธิต คุณประดิษฐ์. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย:จุดเริ่มต้นในทารกสู่โรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2547; 48: 309-22.
ดวงกมล เจริญเกษมวิทย์. อัตราการรอดชีวิตและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก ในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2551; 3: 87-96.
กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2551. นนทบุรี: กรม; 2552.
ธราธิป โคละทัต, จันทิมา จรัสทอง. การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tmchnetwork.com/sites/default/files/KL-08.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก. [อินเทอร์เน็ต].อุดรธานี;2563. [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.udo.moph.go.th
สุดารัตน์ วัฒนโยธิน. การวิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ระยะคลอด และภาวะแรกเกิด น้ำหนักน้อยของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2546; 27(1): 35-42.
วิสุทธิ์ สุวิทยะศิริ, มานิต ศรีประโมทย์, ปราโมทย์ เชิดรัตนรักษ์. ความสัมพันธ์ของการฝากครรภ์ไม่ดีกับ การเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยและการคลอดก่อนกำหนด. วารสารวชิรเวชสาร 2546; 47(1): 9-15.
พรรณพิศ วิทยถาวรวงศ์, กรรณิกา สหเมธาพัฒน์, อุบลรัตน์ ภักดีจันทร์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดทารก แรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม. วารสารกุมารเวชสาร 2551; 15 (1): 34-5.
อรพินท์ กอสนาน. ผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556; 30(4): 287-99.
ภัทรวดี อัญชสีชไมทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยโรงพยาบาลเจ้าพระยา ยมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2551; 24(1): 71-9.
Shrim A, Ates S, Mallozzi A, Brown R, Ponette V, Leven I, et al. Is young maternal age really a risk factor adverse pregnancy outcome in a Canadian tertiary referral hospital?. J Pediatr Adolesc Gynecol 2011; 24 (4): 218-22.
Suwannachat B, Ualalitchoowong P. Maternal age and pregnancy outcomes. Srinagarind Med J. 2007; 22(4):401-7. (in Thai). 17.ประคอง ตั้งสกุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักตัวของทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2554; 6(2): 113-22.
อุษาวดี จะระนิล, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. ปัจจัยของหญิงตั้งครรภ์ที่มีผลต่อทารกน้ำหนักน้อย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
นัยนา ทองสกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2557; 8(3): 745-53.
รัตนา เพชรพรรณ, เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อน้ำหนักทารกแรกเกิดและภาวะโภชนาการ ทารกแรกเกิดถึง 2 ปีในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 3. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556; 30(4): 300-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง