ผลของโปรแกรมการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เกษรา ทวีแสง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, ต้อกระจก, การผ่าตัดต้อกระจก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ต้อกระจก ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ระเบียบวิธีวิจัย : รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลัง (Two group pretest-posttest design) ศึกษาในผู้ป่วยเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจกตา กลุ่มละ 32 คน ที่พักรักษาตัว ณ หอผู้ป่วย หู คอ ตา จมูก และหอผู้ป่วยเบญจสิริ 5 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายคุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลภายในกลุ่มด้วยสถิติ Paired  t – test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Independent t- test (p<.001)

ผลการศึกษา : กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และเพศหญิง (50.00%) อายุเฉลี่ย 69.75 (SD. = 8.57) สถานสมรสคู่ (56.20%) ระดับการศึกษา ประถมศึกษา (78.20%) อาชีพเกษตรกร (81.30%) กลุ่มควบคุมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (62.50%) อายุเฉลี่ย 65.71 (SD. = 10.52)  สถานสมรสคู่ (62.60%) ระดับการศึกษา ประถมศึกษา (75.00%) อาชีพเกษตรกร (84.40%) ความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกของกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 26.78 หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 19.06 และผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม ด้วยสถิติ (Paired t–test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลเฉลี่ย 19.06 กลุ่มควบคุมมีคะแนนความวิตกกังวลเฉลี่ย 22.25 ผลการเปรียบเทียบด้วยสถิติ (Independent t–test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

สรุปผลการศึกษา : การเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

อรุณศรี ชัยทองสกุล. ผลการให้ข้อมูลตามแนวทางการปฏิบัติของพยาบาลห้องผ่าตัดต่อความ วิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้ารับการผ่าตัดในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2 (2): พฤษภาคม - สิงหาคม 2558.

วารุณี กุลราช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดตา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 9 (1): มกราคม - มิถุนายน 2560.

ธนาวรรณ ศรีกุลวงศ์ และศิริพันธุ์ สาสัตย์. ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยร่วมกับ การให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่. วารสารพยาบาลตำรวจ. 7(1): มกราคม - มิถุนายน 2558.

เบญจวรรณ พวงเพชร และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อ ความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559.

ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ์ และคณะ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลครอบครัวตามรูปแบบความเชื่อ การเจ็บป่วยต่อความสามารถในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก และความสามารถของ ครอบครัวในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคต้อกระจก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 11(2): กรกฎาคม - ธันวาคม 2562.

กิติกุล ลีละวงศ์. แนวคิดด้านจักษุสาธารณสุข Concepts in Public Health Ophthalmology. โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร, 2562.

American Academy of Ophthalmology (AAO). (2011). Preferred practice pattern guideline: Cataract in the adult eye. Retrieved June 26, 2012, from http://www.aao.org/ppp.

Luckmann, J., & Sorensen, K. C. Medical surgical nursing: A psychophysio-logic approch. (2nd ed). Philadelphia: W. B. Saunder, 1980.

Spielberger, C. D. Anxiety: Current trends in theory and research. New York : Academic Press, 1972.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31