การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้การสื่อสารทาง Line

ผู้แต่ง

  • ศิริกุล ศรีหนา โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, การสื่อสารทาง Line

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ พฤติกรรมและค่า HbA1c ก่อนและหลังพัฒนารูปแบบ และประเมินความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานผ่านการใช้ Line application โรงพยาบาล      จตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pretest – posttest designed)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการจับฉลาก เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งมีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน กลุ่มทดลองได้รับการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้การสื่อสารทาง Line เป็นจำนวน 6 เดือน ข้อมูล สื่อวีดีทัศน์ แผ่นพับ และถามตอบในกลุ่ม Line ทุกวันโดย ผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ Line “กลุ่มเบาหวาน จตุรพักตร์ 63” วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติ paired t–test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยความรู้   และพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) ;  HbA1c ต่ำกว่าก่อนทดลอง (p<.001) และความพึงพอใจต่อ Line application อยู่ในระดับมาก

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ Application  ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้น และค่า HbA1c ลดลง

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร 100,000 คน ปี พ.ศ.2550 - 2557 จำแนกรายจังหวัดในเขตบริการสาธารณสุขและภาพรวมประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php.

ธเนศวุฒิ สายแสง, วีระศักดิ์ จิตไธสง, กนกรัศมิ์ สุทธิประภา, สุวรรณา ภัทรเบญจพล. ความฉลาด ทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ สถานพยาบาลปฐมภูมิ จังหวัดอุบลราชธานี. ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี; 2557.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชปูถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี,สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560 Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

ผู้จัดการออนไลน์. ไทยรัฐทีวี จับมือ Line ประเทศไทย เปิดตัวบริการใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/business/detail

โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. ฝ่ายบริการพยาบาล. รายงานผู้ป่วยนอก ปี 2563. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.

ประเวช ตันติพิวัฒนกุล. แนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม. ใน: จุรีพร คงประเสริฐ, ธิดารัตน์ อภิญญา, บรรณาธิการ. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

พรพิมล อุลิตผล. การใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ป่วย เบาหวาน โดยใช้กรอบ แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และทฤษฎีการรับรู้ความสามารถในตนเองของผู้ป่วย เบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพ ชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(3) : 441-52.

อรุณี ยศปัญญา, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร, พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร (2561) ผลของโปรแกรมให้ความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพ ทัน จังหวัดอุทัยธานี. ใน: ประชุมสัมมนาวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่าย บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17; 21 กรกฎาคม 2560; ณ ศูนย์วัฒนธรรม ภาคเหนือตอนล่าง วังจันทร์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก; 2560.

อุไรรัตน์ มากไมตรี. อิทธิพลของสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค กรณีศึกษาธุรกิจเบเกอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31