ความชุกการเกิดมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2562

ผู้แต่ง

  • เนตรชนก ไวโสภา โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความชุก, มะเร็งปากมดลูก, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจทางเซลล์วิทยากับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาในโรงพยาบาลขอนแก่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2562  

รูปแบบการวิจัย:  การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีผู้มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 57,176 คน และสตรีผู้ที่มีผลการตรวจทางเซลล์วิทยาผิดปกติและได้ส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา จำนวน 437 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบฟอร์มเก็บผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ข้อมูลจากทะเบียนผลการตรวจทางเซลล์วิทยาและทางพยาธิวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ผลการวิจัย: ความชุกของเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติ จำนวน 1,273 ราย (2.23 %) พบความผิดปกติมากที่สุดเป็นชนิด ASCUS จำนวน 562 ราย (0.98 %) รองลงมาเป็น LSIL (CIN I) จำนวน 398 ราย (0.70 %) และ HSIL (CIN II) จำนวน 80 ราย (0.14 %) โดยกลุ่มอายุที่มีผลตรวจผิดปกติมากที่สุด เป็นกลุ่มอายุ 41-50 ปี จำนวน 320 ราย (25.14 %) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 31-40 ปี จำนวน 269 ราย (21.13 %) และกลุ่มอายุ 51-60 ปี จำนวน 238 ราย (18.70 %) ส่วนกลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี มีผลผิดปกติน้อยสุดที่ 76 ราย (5.97 %) และผลการตรวจทางเซลล์วิทยามีความสัมพันธ์กับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาในทิศทางบวกอยู่ในระดับมาก (r = 0.989, p = .001)  

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าความชุกของเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติส่วนมากเป็นชนิด ASCUS เป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี และผลการตรวจทางเซลล์วิทยามีความสัมพันธ์กันกับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา และการรณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขจะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตลงได้

References

นกแก้ว สุติ, รุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี ในตำบลหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2558; 18(1): 136-45.

World Cancer Research Fund International. Cancer World wide data [Internet]. 2012 [cited 2016 June 29]. Available from: http://www.wcrf.org/int/cancer-facts-figures/worldwide-data

สุพรรษา กันทะสอน. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก ในสตรีกลุ่มชนชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา [วิทยานิพนธ์]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2561.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์; 2561.

วารุณี วังชัย, รัชนีวรรณ จันทร์สว่าง, ปาจรีย์ วรรโณทัย. ศึกษาผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มารับบริการตรวจสุขภาพ ค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก ณ งานพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทางโรคมะเร็ง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกปีงบประมาณ 2558[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2562]; เข้าถึงได้จาก: https://www.lpch.go.th/km/uploads/ 20170125142453800508.pdf

นิตยา ราชกิจ. สถานการณ์การเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์.[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2562]; เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.163/hpc3/assets/dmkm/20200909040920-สถานการณ์การเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก%20.pdf

จตุพล ศรีสมบูรณ์. มะเร็งปากมดลูก: การวินิจฉัยและการรักษา. กรุงเทพฯ: พี.บี. ฟอเรนบุ๊คส์ เซนเตอร์; 2547.

สุรพันธุ์ คุณอมรพงศ์, สุมาลี ศิริอังกุล. พยาธิวิทยาของปากมดลูก . เชียงใหม่ : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.

Kurman RJ, Henson DE, Herbst AL, Noller KL, Schiffman MH. interim guidelines for management of abnormal cervical cytology: The 1992 National Cancer institute Workshop. JAMA 1994; 271: 1866-9.

วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ, ภานนท์ เกษมศานติ์, จตุพล ศรีสมบูรณ์. HPV-related diseases and HPV vaccines. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

พรไพโรจน์ มิตรปราสาท . ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผิดปกติ ในจังหวัดสุรินทร์ .วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2546; 18(1): 3-12.

เกื้อหนุน บัวไพจิตร. ความสัมพันธ์ของผลการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลุกกับผลการ ตรวจทางพยาธิในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2561; 21(3): 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31