การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแล, การมีส่วนร่วม, โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่3 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
รูปการการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ผู้ดูแลผู้ป่วยทีมสหวิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน รวม 170 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า การประสานการดูแลผู้ป่วยในชุมชนอย่างต่อเนื่องยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามีน้อย ผู้ป่วยผู้ดูแล อสม. ผู้นำชุมชน ขาดความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง อัตราการกรองของไต เฉลี่ย 46.91 มล./นาที/1.73ตร.ม. 2) ระยะพัฒนารูปแบบ โดยการประชุมทีมสหวิชาชีพปรับปรุงแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข ผู้ป่วย ผู้ดูแล อสม.และผู้นำชุมชน เรื่องโรคไตเรื้อรัง และประชุมเชิงปฏิบัติการใช้รูปแบบ 1ค+2อ+1ส. คือ1ค.(ความรู้) โรคไตเรื้อรัง+2อ. (อาหาร ออกกำลังกาย)+1ส (สมาธิบำบัด SKT) 3)ระยะทดลองใช้รูปแบบ นำรูปแบบไปใช้ในคลินิกโรคไตเรื้อรัง และพัฒนาระบบบริการที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4)ระยะประเมินผล พบว่า ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไตเพิ่มจากค่าเฉลี่ย eGFR 46.91 มล./นาที/1.73 ตร.ม. เป็น 54.57 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ทีมสหวิชาชีพและผู้ดูแลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และหลังการฝึกอบรม บุคลากรสาธารณสุขผู้ดูแลและ อสม./ผู้นำชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น (p< .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีอัตราการกรองไตและมีความรู้เพิ่มขึ้น
References
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2558; 5(5): 17.
กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออาหารบำบัดโรคไตเสื่อม. 2563; 6-9. 3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. คนไทยป่วยโรคไตติดอันดับ
ของอาเซียน [อินเทอร์เน็ต] .กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/30963.html.
จุฑามาศ วารีแสงทิพย์. การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยธรรมปฎิบัติ. กรุงเทพฯ: เอมี่เอ็นเตอร์ไพรส์; 2553.
คัทลียา อุคติ, ณัฐนิช จันทจิรโกวิท. ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการขจัดของเสียทางเยื่อบุช่องท้องต่อเนื่อง. สงขลานครินทร์เวชสาร2550; 25(3): 171-7
สุนีรัตน์ สิงห์คำ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน โดยการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559; 13(3): 92-9.
Domrongkitchaiporn S, Sritara P,Kitiyakara C. Risk factors for development of decreased kidney function in a Southeast Asian population: a 12-year cohort study. J Am Soc Nephrol 2005; 16(3): 791–9.
Guntachuvessiri S, Pothishat S, ngowsiri J. Guideline screening and treatment of diabetes and hypertension in kidney disease patients (1st Edition). Bangkok. Thailand Healthy Strategic Management Office .The Agricultural co- perative Rederation of Thailand, LTD. 2012.
สุนีรัตน์ สิงห์คำ.การเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายของผู้ดูแลโรคไตเรื้อรัง. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16(3),149-58.
แพรวทิพฑ์ สุธีรประเสริฐ ,วราทิพย์ แก่นการ. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(4): 43-51.
วิภาพร สิทธิสาตร์, ภูดิท เตชาติวัฒน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์.ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 9(1): 25-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง