ผลของโปรแกรมการสอนที่มีต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการสอน, ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคหืดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนที่มีต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหืด (อายุ 15ปีขึ้นไป) ที่เคยมีอาการหอบหืดกำเริบ ในปีงบประมาณ 2562 สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหืด และหาความเที่ยงโดยสูตรคูเดอร์ ริชาด์สัน (KR-20) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหืด และหาความเที่ยง ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 แบบวัดดัชนีคุณภาพชีวิต และหาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย คำนวณค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติที (Paired t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคหืดมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหืด พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิต ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหืดเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.55 คะแนน (95% CI 1.81, 3.28) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.05 คะแนน (95% CI 2.94, 5.16) และร้อยละคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นเท่ากับ 16.30 คะแนน (95%CI 12.86,19.73)
สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองโดยใช้โปรแกรมการสอน ทำให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหืด พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตดีขึ้น และควรนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหืดอย่างต่อเนื่อง
References
Orem, D.E. & Taylor, S.E. Orem’s General Theory of Nursing. New York:L National League for Nursing. 1995.
Cohen, Sheldon. Perceived stress in a probability sample of the United States. 1988.
สุชาดา มานะสถิต. ผลของโปรแกรมการสอนแบบกลุ่มต่อความรู้และพฤติกรรมของบิดามารดาในการป้องกันอาการจับหืดในเด็ก [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
Orem, D.E. Nursing Concepts of Practice. 4th. ed. Philadelphia:Mosby Year Book. [n.d.]. 1991.
จิรสุดา ทะเรรัมย์. โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
วิยดา สุวรรณชาติ, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่. วารสารเกื้อการุณย์ 2559; 23(1): 60-72.
วิชัย ศรีผา. ผลของการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอโซ่พิสัยจังหวัดบึงกาฬ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2557; 8(3): 268-78.
ศิวนันท์ ฟองจันทร์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในชุมชนเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2558.
ปิติกานต์ บูรณาภาพ. หอบหืด ภูมิแพ้ ดูแลเป็น. กรุงเทพฯ: ยูโรปา เพลส; 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง