ผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจร่วมกับวิถีพุทธผู้รับการบำบัดการใช้ยาบ้า

ผู้แต่ง

  • โชคนิติพัฒน์ วิสูญ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

เสริมพลังอำนาจ, เสริมพลังอำนาจวิถีพุทธ, ผู้เสพยาบ้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อเปรียบเทียบผลการบำบัดของผู้เสพยาบ้าก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับวิถีพุทธ และเปรียบเทียบผลการบำบัดด้วยโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับวิถีพุทธกับผลการบำบัดในปีที่ผ่านมา

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เสพยาบ้าที่มาขึ้นทะเบียนเพื่อเข้ารับการบำบัดแบบผู้ป่วยนอกที่คลินิกยาเสพติดโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ ทั้งหมดในช่วง เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2561 จากการคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งหมด 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท ได้แก่  1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบ   คัดกรอง Assist  และแบบบันทึกผลการบำบัด เป็นคำถามปลายเปิด 2)โปรแกรมเสริมพลังอำนาจร่วมกับวิถีพุทธ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และติดตามหลังจบโปรแกรมบำบัด 90 วัน ในช่วง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

ผลการวิจัย: หลังการบำบัดครบโปรแกรม ผู้รับการบำบัดมีคะแนนการคัดกรองเฉลี่ยน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการบำบัด (p< .001) โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย ลดลงเท่ากับ 12.41 (95% CI :11.02, 13.79) และผลการบำบัดผู้เสพยาบ้าตามโปรแกรมเสริมพลังอำนาจร่วมกับวิถีพุทธ คะแนนการคัดกรองเฉลี่ย ปี พ.ศ. 2562 มีค่าน้อยกว่า ปี พ.ศ. 2561 (p< .001) โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย ลดลงเท่ากับ 2.18 (95% CI : 0.53, 3.80)

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาที่ได้ ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมบำบัดต่างๆได้ เช่น การเลิกสุรา การเลิกบุหรี่ การเสริมพลังอำนาจครอบครัวเพื่อสนับสนุนให้ผู้ติดยาเลิกเสพได้

References

กฤษดา ทองทับ และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียด ในการป้องกันการเสพซ้ำต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกใช้สารแอมเฟตามีนของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2557; 28(2): 89-90.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. ผลกระทบของการปราบปรามยาเสพติด 2554-2557. 2558.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2559). จำนวนและร้อยละของ ผู้ป่วยยาเสพติดทั้งหมด ปีงบประมาณ 2555 -2559.[ อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thanyarak.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=2198&Itemid=61&pop=1&page=0.

นิตยา ตากวิริยนันท์. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาทางจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.

ก้องเกียรติ อุเต็น. ผลของการบำบัดแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงต่อความสำนึกในคุณค่าแห่งตนของผู้ที่เป็นโรคติดแอมเฟตามีน. เชียงใหม่ : โรงพยาบาลสวนปรุง. 2554.

สีอรุณ แหลมภู่. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในต่อแรงจูงใจและการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดสารเสพติดในสถานบำบัดยาเสพติดแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี.[ วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

เจริญ แฉกพิมาย และปนัดดา ศรีธนสาร. รายงานการวิจัยพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาติดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ; 2555.

Gibson, C.H. (1995). The process of empowerment inmothers of chronically illchildren. Journal of Advance Nursing 1995; 21: 1201-1210.

ยุวดี รอดจากภัย, สมพล กิตติเรืองเกียรติ, ประสิทธิ์ กมลพรมงคล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 7(2): 116-23.

พรทิพย์ คงสัตย์, ศิริภรณ์ ชัยศรี, สวัสดิ์ เที่ยงธรรม. การเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการจัดการพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556; 27(1): 45-61.

World Health Organization. Global status report on alcohol 2014. Department of Mental Health and Substance Abuse. Geneva, 2014.

กชพร เผือกผ่อง. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการควบคุมตนของผู้เสพติดแอมเฟตามีน. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

นุษณี เอี่ยมสอาด. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดื่มของผู้ติดสุรา. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Aujoulat, I., D’Hoore, W., & Deccache, A. Patient empowerment in theory and practice: Polysemy or cacophony? Patient Education and Counseling 2006; 66(1): 13-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31