ผลการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแซงแหลม จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, ชะลอไตเสื่อม, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 25 คน ให้การสนับสนุนการจัดการตนเองโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ติดตามผล 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเทคนิค 5 A เก็บรวบรวบข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .84 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย: หลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.76 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน (95%CI: 1.50, 2.01) คะแนนเฉลี่ยการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.66 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน (95%CI: 1.43, 1.89) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม การชะลอไตเสื่อมโดยรวม เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 1.54 คะแนน (95% CI: 1.40,1.69)
สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมเพิ่มขึ้น
References
Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010;25:1567-75.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สตรีไทย ไต Strong [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สสส.; 2561 [เข้าถึง เมื่อ 18 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/40347-สตรีไทย%20/'ไต/'%20Strong%20.html
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการประเมินผลยุทธศาสตร์ปี พ.ศ.2562. ร้อยเอ็ด. กลุ่ม งานพัฒนายุทธศาสตร์; 2562.
พิทักษ์พงศ์ พยุหะ, บุษบา บัวผัน, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค ไตเรื้อรังในชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2562;9(2): 179-188.
Miller, W. R., & Rollnick,S. Motivational interviewing: Preparing people to change addictive behavior. New York: Guilford Press; 1991.
จันจิรา หินขาว, สุนทรี เจียรวิทยกิจ, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง ร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสื่อมของไตระยะที่ 3. วารสารวิทยาลัย พยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2562;30 (2): 185-202.
Landon B.E., Hicks L.S., & O’ Malley J. Improving the Management of Chronic Disease at Community Health Centers. N Engl J Med. 2007; 356: 921-93.
เกษฎาภรณ์ นาขะมิน. กลวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารสมาคม พยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(1):43-51.
ณิชาพัฒน์ เรืองสิริวัฒก์. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดย ประยุกต์ ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาล สาธารณสุข. 2556;27(1):74-87.
อรุณี ผุยปุ้ย. การพัฒนาแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนกรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดพิจิตร. สมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;1(4):80-88.
วัฒนา สว่างศรี และศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558;16 (1):116-22.
สุนีรัตน์ สิงห์คำ. การเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายของผู้ดูแลโรคไตเรื้อรัง. วารสารโรงพยาบาล มหาสารคาม. 2562;16(3):149-58.
สุวรรณา สุรวาทกุล, สุวคนธ์ เหล่าราช, ละออง เดิมทำรัมย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไต เรื้อรังระยะที่ 4 อำเภอนาดูน. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;4(7): 129-43.
Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self management methods. In: Kanfer FH, GoldsteinA, editors. Helping people change: A textbook of methods. New York: Pergamon; 1991.p. 305-60.
Glasgow RE, Emont S, Miller DC. Assessing delivery of the five A’s for patient-centered counseling. Health PromotInt. 2006; 21(3):245-55.
ลดาวัลย์ฤทธิ์กล้า, ชดช้อยวัฒนะ, พีระพงค์ กิติภาวงค์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการ จัดการ ตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ภาวะหายใจ ลำบาก ความสามารถในการทำกิจวัตร ประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. พยาบาลสาร. 2555;39(1):64-76.
อรวรรณ ประภาศิลป์, ชดช้อยวัฒนะ,ทิพาพร ธาระวานิช. ผลของโปรแกรมการส่งเสริม สมรรถนะ ในการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองภาวะอ้วน ความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและ หลอดเลือด และการหายจากภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในผู้ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม. พยาบาลสาร. 2556;40(1):34-48.
ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อ พฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ไม่สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nded. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.
ลักขณา ลี้ประเสริฐ และสุทธิณี สิทธิหล่อ. แรงสนับสนุนทางสังคมที่ผู้สูงอายุได้รับในชุมชน บ้านนาแก ตำบถห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ [การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.
สายทอง ภูแม่นเขียน. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการกระทา และการรับรู้ สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับการรักษาใน คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหา บัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
เพ็ญศรี จิตต์จันทร์. ปัจจัยทำนายการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารสภาการพยาบาล. 2554;26(2): 86-99. 23. Lorig KR, Holman H. Self-management education: history, definition, outcomes, and mechanisms. Ann Behav Med 2003; 21:1-7.
เปรมทิพย์ คงพันธ์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและ แรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2559;27(ฉบับเพิ่มเติม):28-42.
ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์. เทคนิคการเสริมพลังในการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่สอดคล้องกับวิถี ชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(4):649-58.
ไพศาล ไตรสิริโชค, หลั่งพร อุตรศาสตร์, วราทิพย์ แก่นการ. ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเอง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562;34(6):552-58.
Gibson CH. A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing 1993;16:354-61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง