ประสิทธิผลการจัดการดูแลทางสังคมและจิตใจของผู้ป่วยโควิด -19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุระ สุพรหมอินทร์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • สุณี อาวรณ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การจัดการดูแลทางสังคมและจิตใจ, โควิด –19, โรงพยาบาลสนาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียด ภาวะซึมเศร้า และประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการดูแลทางสังคมและจิตใจของผู้ป่วยโควิด -19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม  จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด -19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 108 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2564 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัย : หลังการเข้ารับการรักษาพบว่า ผู้ป่วยมีความเครียดอยู่ในระดับน้อย (71.3%) มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าลดลงเหลือเพียง 25.9% ไม่มีภาวะซึมเศร้า (74.1%) และไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย (100.0%) หลังการเข้ารับการรักษาพบว่า ผู้ป่วยมีความเครียดลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p< .05) โดยมีความเครียดลดลงเท่ากับ 2.43 คะแนน (95%CI: 2.16, 2.71) และผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) โดยมีภาวะซึมเศร้าลดลง เท่ากับ 3.87 คะแนน (95%CI: 3.48, 4.25) และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก 
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเครียดลดลง ไม่มีภาวะซึมเศร้าและแนวโน้มฆ่าตัวตาย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำรูปแบบนี้ไปใช้ในหน่วยงาน

References

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยวอำเภอสันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29(1):12-21.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ทะเบียนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด – 19 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2564.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสาร สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(4):280-91.

พนม เกตุมาน, วินัดดา ปิยะศิลป์. Stress Management in Covid-19 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัย กุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/pages/Doctor/Detail/43/297

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต. แนวทางการดูแลด้านสังคมจิตใจในสถานพยาบาลและชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://mhtech.dmh.moph.go.th/page/subject_details.php?subject_id=309#

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-28