การจัดตั้งและพัฒนาคลินิกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลน้ำขุ่น

ผู้แต่ง

  • ชนัญชิราลักษณ์ ทัศนานุกุลกิจ โรงพยาบาลน้ำขุ่น

คำสำคัญ:

โรคไตวายเรื้อรัง, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อจัดตั้งและพัฒนาคลินิกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาล   น้ำขุ่น
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมดำเนินงานจำนวน 5 คนและผู้ป่วยเข้ารับบริการ จำนวน 116 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2559 -30 ตุลาคม 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนจากเวชระเบียนและประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : การจัดตั้งและพัฒนาคลินิกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้กระบวนการ PAOR แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะการวางแผน จากการวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาโดยการประชุมร่วมระดมความคิดเห็น จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโดยสหวิชาชีพและการวางแผน ระยะ      ลงมือปฏิบัติ ดำเนินการพัฒนาคลินิกโดยคณะกรรมการสหวิชาชีพร่วมดำเนินงานในคลินิก ระยะสังเกตการณ์  โดยทำการประเมินผลการพัฒนาคลินิกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน และระยะการสะท้อนกลับ (Reflection) เป็นการคืนข้อมูลผลลัพธ์จากการดำเนินงานพบว่าทีมผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจต่อการจัดตั้งและพัฒนาคลินิกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.20, =0.45) ผู้มารับบริการในคลินิกได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก(µ =3.74, =0.46)
สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการให้บริการด้านการอำนวยความสะดวกในการประสานงาน-การส่งต่อ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรค  แผนการรักษา และด้านโภชนาการมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อปรับปรุงการให้บริการตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นอย่างต่อเนื่อง

References

กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง. การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย ที่ได้รับ การบำบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,2559; 4 (4) :485-502.

Rettig RA, Norris K, Nissenson AR. Chronickidney disease in the United States: apublic policy imperative. Clin J Am SocNephrol 2008;3:1902-10.

สุนีรัตน์ สิงห์คา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน โดยการเสริมสร้างพลังภาคี เครือข่ายแบบมีส่วนร่วม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559;13(3), 92-99.

โรงพยาบาลน้ำขุ่น. งานเวชระเบียน. ข้อมูล Coverage UC. อุบลราชธานี: โรงพยาบาล; 2560.

กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, สิทธิศานต์ ทรัพย์สิริโสภา.การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560;11(2):219-226.

ปุณญณิน เขื่อนเพ็ชร์ .การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 2563;7(1):57-74.

ธวัช วิเชียรประภา,พรฤดี นิธิรัตน์,ปิ่นนเรศ กาศอุดม, ดาลิมา สำแดงสาร. เปรียบเทียบอัตราการกรอง ของไตก่อนและหลังการรับบริการที่คลินิกชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี.The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 2019;25(2) : 138-147.

สุภาภรณ์ แก้วชนะ, วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดย สหวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลนางรอง.วารสารเภสัชกรรมไทย, 2563;12 (4):195-206

สุวรรณา สุรวาทกุล, สุวคนธ์ เหล่าราช, ละออง เดิมทารัมย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรค ไตเรื้อรังระยะที่ 4 อำเภอนาดูน.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 2562; 4 (7) :129-143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-28