การประเมินผลโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การประเมินผลโครงการ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลโครงการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในผู้สูงอายุ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 103 คน ดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 103 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (72.8%) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (40.8%) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (68.0%) ผลการวิเคราะห์การประเมินผลตามรูปแบบ CIPP Model ด้านบริบทมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลาง กระบวนการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ด้านผลผลิต พบว่า ความรู้อยู่ในระดับสูง ทัศนคติค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.65 (SD=0.23) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก หลังการพัฒนาผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ต่ำกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ลดลงเท่ากับ 1.43 mg% (95%CI: 1.21, 1.64) และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.32,SD=0.15)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการดำเนินโครงการฯ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีผลผลิตการดำเนินงานดีขึ้น ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง
References
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวคำ. งานพัฒนายุทธศาสตร์. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ.2563. ร้อยเอ็ด : รพ.สต.; 2563.
กิจปพน ศรีธานี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560;11(1):26-36.
ประภาพร มโนรัตน์. ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง: ผลกระทบและบทบาทสังคมกับการดูแล. วารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2556;5(2):98-103.
วิมลรัตน์ วันเพ็ญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสร้างเสริมแรงจูงใจในผู้มีปัญหาพนัน. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์.2561.
วิภาพร อุตมะ. การประเมินผลการดำ เนินงานระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานใน รพ.สต. อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2560;31(4):577 – 88.
สมชาย รัตนทองคํา. ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษาที่มักถูกนำมาใช้พัฒนาด้านการเรียนการสอน [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/54/4psycho54.pdf
สมพงษ์ หามวงษ์, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี ความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มารับบริการใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกุงเผือก อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์ เวชสาร. 2556;28(4):451-60.
ตวงพร กตัญญุตานนท์, วัชนีย์ จันทร์ปัญญา, สุธีธิดา ปาเบ้า, เสาวณี เบ้าจังหาร, ธรพร น้อยเปรม, สาวิกา พาลีและคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ . วารสารวิชาการสมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ. 2562;6(2):53-62.
วรรณา วงศ์คช, เกศกานดา ศรีระษา. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพรหมคีรี พ.ศ.2557 [อินเทอร์เน็ต]. นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาลพรหมคีรี; 2557 [เข้าถึง เมื่อ 15 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.promkiri.go.th/detail/doc_download/a_270514_115121.pdf
จรัสศรี เอี่ยมมะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 เขต สะพานสูง กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]: นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา; 2554.
อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์, ปริศนา รถสีดา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น. วารสารวิชาการสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2559;3(1):85-95.
กฤษณา คําลอยฟ้า. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อําเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขภาพและการศึกษา พยาบาล. 2554;17(1):17-30.
อโณทัย เหล่าเที่ยง. ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรงพยาบาลฮอด จังหวัดเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550 [เข้าถึง เมื่อ 20 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/193926
ขวัญใจ เพ็ญนิ่ม, สุจิตร์ พูนเกิด. ผลการใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีค่า HbA1C มากกว่าร้อยละ 7 ต่อ ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม : กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง [อินเทอร์เน็ต]. พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 24 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://data.ptho.moph.go.th/pphoboard/256006
อนุชา วรหาญ. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลาขวัญ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2561;12(27):9-22.
ชิดชนก ศิริวิบุลยกิติ และกุลนาถ มากบุญ. โปรแกรมท่าศาลา การเสริมสร้างสมรรถนะทางกาย การลดความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้ม ผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39(1):127-37.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง