ผลของโปรแกรมการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานรายใหม่

ผู้แต่ง

  • เครือมาส อนันตา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
  • พีรวิชญ์ พาดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปลือยตาล จังหวัดร้อยเอ็ด
  • อำภา คนซื่อ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน, พฤติกรรมสุขภาพ, ดัชนีมวลกาย, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนักมวลกาย และดัชนีมวลกายของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารระหว่าง 110-120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เก็บและรวบรวมข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ paired t-test
ผลการวิจัย : หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) น้ำหนักมวลกาย ดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลในเลือด ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)
สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสามารถทำให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและปฏิบัติตนเองได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

References

ไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์, กุลรัตน์ บริรักษ์วาณิชย์. การประเมินการใช้เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เขตสุขภาพที่ 2. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.

Shahira, D. A., Karpagam, S., & Amudha, P. Anti-diabetic activity of Salacia Chinensis stem extract. World Journal of Pharmaceutical Research. 2019;8(6):1417-23.

Wahyudia, L. D., Ratnadewia, A. A., & Siswoyob, T. A. Potential Antioxidant and antidiabetic activities of Kayu Kuning (Arcangelisia flava). Agriculture and Agricultural Science Procedia 2016;9:396-402.

Hasan, M., Ali, M. T., Khan, R., Palit, P., Islam, A., Seidel, V., Akter, R., Nahar, Laizuman. Hepatoprotective, antihyperglycemic and antidiabetic effects of Dendrophthoe pentandra leaf extract in rats. Clinical Phytoscience 2018;4:16.

สมจินตนา ไรสูงเนิน. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุนในภาควิชา ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University 2018;5(2):15-29.

จันทิมา เขียวแก้ว. บทวิจารณ์หนังสือ Behavior change research and theory: psychological and technological perspectives. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ 2560;10(2):68-74.

นิยะนันท์ สำเภาเงิน, ดวงกมล ชาติประเสริฐ. อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมสุขภาพ และแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยง. วารสาร การประชาสัมพันธ์และการโฆษณา 2557;7(2):38-58.

ดวงดาว อรัญวาสน์, ญาณีกร สีสุรี, ผดุงศิษฏ์ ชานาญบริรักษ์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาสารคาม. 2563;4(7):1-12.

ปิยวรรณ ศรีสุวนนันท์. ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยโปรแกรม การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของแพนเดอร์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา . 2560;3(2):105-18.

นภาพร แหวนแก้ว, อรอนงค์ บุรีเลิศ, ชวนชัย เชื้อสาธุชน. ประสิทธิผลของโปรแกรมการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 Self ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรม สุขภาพของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์. วารสารวิจัย สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2562;8(2):98-110.

อุมาพร นิ่มตระกูล, วิสิทธิ์ ฐิตฺวิสิทฺโธ. พฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ จากพระคิลานุปัฏฐากสู่พระนักสื่อสารในเขตสุขภาพที่ 1.วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา 2563;11(1): 33-51.

ชัยชนะ วิริยะกุล. ประสิทธิผลแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งตับและท่อนํ้าดี ตำบลโคกกลาง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7. 2557;13(1):43-51.

ถนิมภรณ์ สังขเภท. การประเมินผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพด้านการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรค อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2561;15(2):15-28.

รักรุ้ง โกจันทึก, วรรณทนา ศุภสีมานนท์, ศิริวรรณ แสงอินทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ ความสามารถในตนเองด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและน้ำหนักเพิ่มของ หญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานก่อนตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข. 2561;13(3):80-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-29