การประเมินผลโครงการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care: IMC) กลุ่มงานการพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เอมอร อาภรณ์รัตน์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินโครงการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) ตามแนวคิดและโมเดลเคาน์ทิแนนซ์ของสเต็ก
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงประเมินผล
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 303 คน ญาติผู้ป่วยระยะกลางในชุมชน จำนวน 303 คน และทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินกระบวนการปฏิบัติตามโครงการฯ แบบประเมินความพึงพอใจ การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxp และโปรแกรม NEMO CARE และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงการฯ มีจำนวนบุคลากร และใช้งบประมาณเพียงพอ และเหมาะสม  ด้านกระบวนการปฏิบัติตามโครงการฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.41,SD=0.83) และผลของโครงการฯ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทั้ง 5 ตัว พบว่า สอดคล้องกับเกณฑ์ตัวชี้วัดทุกตัว 
สรุปและข้อเสนอแนะ: การดำเนินงานตามโครงการฯ ครั้งนี้ ส่งผลให้ ตัวชี้วัดผลบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโครงการฯ นี้ไปปฏิบัติ

References

สุวิณี วิวัฒน์วานิช, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. รายงานวิจัยการศึกษาความพร้อม และความต้องการของผู้ป่วยที่ได้รับ การจำหน่ายจากโรงพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป และ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข การสำรวจแบบวันเดียว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2555.

รัชวรรณ สุขเสถียร. การเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันแบบ ผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์. J Thai Rehabil Med 2557;24(2):37-43.

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย: การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care). สำนักงานพัฒนานโยบาย สุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

เบญจพร สุธรรมชัย, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, นภัส แก้ววิเชียร. การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24:1018-29.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนหน่วยงานบริการสุขภาพ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี:กองยุทธศาสตร์และ แผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. นโยบาย Intermediate care [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://r8way.moph.go.th/r8wayadmin/page/uploads_file

สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. การพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู (Sub acute Rehabilitation) และถอดบทเรียนการดำเนินงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.

ศูนย์ประสานการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ พัฒนางานสาธารณสุข. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2554.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

บุษรินทร์ พูนนอก. รายงานการศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care). นครราชสีมา: เขตสุขภาพที่ 9 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์);2563.

ธัญพร ชื่นกลิ่น. การประเมินผลการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุในประเทศไทยตามนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกใน พระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

สุกัญญา ยงสว่าง, ธนวรรณ สินประเสริฐ, ปราณี เตชรัตน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะ สุดท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2558;34 (3):236-47.

พัชรฉัตร ภูมิสถาน. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนอกและเอวหักกดทับไขสันหลัง ที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังและการดูแลต่อเนื่องในระยะกลาง : กรณีศึกษา. ชัยภูมิเวชสาร.2563; 40(1):173-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29