สถานการณ์และแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อัศราวุธ ใจหาญ โรงพยาบาลศรีสมเด็จ

คำสำคัญ:

โรคซึมเศร้า, แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 385 คน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีสมเด็จ ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ธันวาคม 2563 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2 คำถาม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม และแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถามจากกรมสุขภาพจิต และบันทึกข้อมูลในระบบโปรแกรม Hos-xp และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 385 คน พบว่า เกิดภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้าจำนวน 14 คน (3.64%) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 9 คน (64.29%) มีโรคซึมเศร้าอยู่ในระดับน้อย (คะแนน 7-12 (64.29%) และไม่พบมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ได้แก่ การคัดกรอง การประเมิน 2Q, 9Q, 8Q และการวินิจฉัยและรักษา
สรุปและข้อเสนอแนะ : แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงและได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

สุภาวดี ศรีรัตนประพันธ์. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย เบาหวานที่มารักษาในโรงพยาบาลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(3):249-64.

กรมสุขภาพจิต. โรคซึมเศร้า ทำใจพัง เช็กลิสต์สาเหตุและอาการ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม ;2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30114

พรรณพิไล วิริยะ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. สถานการณ์โรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูงใน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(ฉบับพิเศษ):S1-S18.

จุลารักษ์ เทพกลาง. การพัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562;16(1):70-7.

นภา พวงรอด. การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนครินทร์ 2558 ;2(1):63-74.

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติโรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: กองจิตเวชและ ประสาทวิทยาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า; 2553.

สรร กลิ่นวิชิตและคณะ. การประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน เทศบาล เมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วารสารบูรพาเวชสาร 2558;2(1):21-33.

สมบูรณ์ แนวมั่น. ผลการใช้แบบคัดกรองจิตเวชในประชาชนกลุ่มเสี่ยงจิตเวช ในเขตตำบลโคกหล่าม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28 (ฉบับพิเศษ):109-15.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้า สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับ ปฐมภูมิและทุติยภูมิ. อุบลราชธานี: กรม; 2553. 10. สาวิตรี วิษณุโยธิน, นชพร อิทธิวิศวกุล. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2563;16(1):5-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-28