ประสิทธิผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาแบบบูรณาการของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ภัศราภรณ์ ศิริษา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การเฝ้าระวัง, พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัญหา สภาพการณ์ และประเมินประสิทธิผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาแบบบูรณาการของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย (ICWN)
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย จำนวน 66 คน จาก 46 หอผู้ป่วย โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการ ระยะที่ 2 ระยะการดำเนินการ และระยะที่ 3 ระยะการประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจอัตราชุกการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล และแบบทดสอบความรู้ของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย โดยการวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย : พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย 66 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (96.97%) อายุระหว่าง 26 – 30 ปี (31.82%) ผลการศึกษาสภาพการณ์พบว่า การบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการติดเชื้อและการติดเชื้อดื้อยาไม่ครบถ้วน การวินิจฉัยการติดเชื้อไม่ถูกต้อง  เนื้อหาของคู่มือแนวทางการวินิจฉัยการ     ติดเชื้อในโรงพยาบาลยังไม่ครอบคลุม และการมีส่วนร่วมบางหน่วยงานยังมีน้อย ผลการประเมินความรู้หลังการพัฒนา พบว่า ความรู้เรื่องการวินิจฉัยการติดเชื้อ ผ่านเกณฑ์ (76.36%) และการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยา ผ่านเกณฑ์ (84. 85%) ส่วนประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยก่อนการพัฒนาปี 2561 (78.26%) ระหว่างการพัฒนา ปี 2562 (90.00%) และหลังการพัฒนาปี 2563 (100%) ผลสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาลก่อนการพัฒนาปี 2561 (0.83 %) ระหว่างการพัฒนาปี 2562 (1.82%) และหลังการพัฒนาปี 2563 (1.81%) พบการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล ร้อยละ 100 เชื้อดื้อยาที่พบส่วนใหญ่ เป็น Pseudomonas aeruginosa และ Acinetobacter baumannii โดยพบสูงที่สุดในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ
สรุปและข้อเสนอแนะ : พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย ผ่านเกณฑ์ชี้วัดความรู้ภาพรวม เรื่องการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาลและการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล และผ่านเกณฑ์ชี้วัดความรู้เฉพาะ เรื่องการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยา ส่วนความรู้เรื่อง การวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล ไม่ผ่านเกณฑ์ชี้วัด และผู้ป่วยมีการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาต่อไป

References

ภาณุมาศ ภูมาศ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, ภูษิต ประคองสาย, ตวงรัตน์ โพธะ, อาทร ริ้วไพบูลย์, สุพล ลิมวัฒนา นนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย : การศึกษา เบื้องต้น. Health and Economic Impacts of Antimicrobial Resistant Infections in Thailand : A Preliminary Study [Internet]; 2012 [cited 2020 Nov 18]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3699

ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (NARST). สถานการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์;. [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://narst.dmsc.moph.go.th/antibiograms.html

Rosenthal VD, Maki DG, Jamulitrat S, Medeiros EA, Todi SK, Gomez DY, et al. International Nosocomial Infection Control Consortium (INICC) report, data summary for 2003-2008, issued June 2009. Am J Infect Control 2010;38(2):95-104.e2.

Dejsirilert S, Suankratay C, Trakulsomboon S, Thongmali O, Sawanpanyalert P, Aswapokee N, et al. National Antimicrobial Resistance Surveillance, Thailand (NARST) data among clinical isolates of Pseudomonas aeruginosa in Thailand from 2000 to 2005. J Med Assoc Thail Chotmaihet Thangphaet 2009;92 Suppl 4:S68-75.

กัลยพัทธ์ นิยมวิทย์, กัญญดา ประจุศิลป. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย. วารสารพยาบาลตำรวจ 2015;7(1):153–65. 6. ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติ การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร 2015;42(3):119–34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-28