ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแล ในอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • มิ่งสมร กิตติธีรนันท์ โรงพยาบาลธวัชบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุติดเตียง, ผู้ดูแล, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาวะช่องปากและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแล
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุติดเตียงและผู้ดูแลในอำเภอธวัชบุรี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกจำนวน 62 ราย  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบตรวจสุขภาพช่องปากและแบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลซึ่งทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ (Chi-square) และฟิชเชอร์เอ็กเซ็ค (Fisher’s Exact Test)
ผลการวิจัย : ผู้สูงอายุติดเตียงส่วนใหญ่มีฟันมากกว่า 20ซี่ (51.6%)  ฟันคู่สบน้อยกว่า 4 คู่สบ (71%) หินน้ำลาย (71%) ฟันโยก (30.6%) และมีแผลในช่องปาก (24.2%) ปัจจัยของผู้สูงอายุที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้แลต่อผู้สูงอายุติดเตียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ โรคกล้ามเนื้อและกระดูก โรคอุบัติเหตุ จำนวนฟันที่เหลืออยู่ ฟันคู่สบ ฟันโยก การมีหินน้ำลายและแผลในช่องปาก และปัจจัยของผู้ดูแลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้แลต่อผู้สูงอายุติดเตียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประสบการณ์การได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากและทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปาก
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ดูแลควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุติดเตียงที่ถูกต้อง โดยมีรูปแบบการดูแลที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงรวมทั้งมีการเสริมสร้างแรงจูงใจ ให้กำลังใจแก่ผู้ดูแล โดยความร่วมมือของสหวิชาชีพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ปี 2560. นนทบุรี: กรม; 2561

Gao L, Xu T, Huang G, Jiang S, Gu Y, Chen F. Oral microbiomes more and more importance in oral cavity and whole body. Epub 2018;9(5):488-500.

อาณัติ มาตระกูล, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำความสะอาด ช่องปากผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแล ในจังหวัดกระบี่. NIGRC KKU 2017;813-25.

Panyathorn K. Family care of the elderly: A case study of Nongtaguy village, Maung district Udonthani provine. Journal of Nursing and Health Care. 2014;32(4):33-9.

ณัชศฬา หลงผาสุข, สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. ภาวะสุขภาพและการดูแลตนเองของญาติ ผู้ดูแลวัยสูงอายุ.Thai Journal of Nursing Council 2018;33(2):97-109.

Zuluaga DJ, Sandvik L, Montoya JA, Willumsen T. Oral health and mortality risk in the institutionalised elderly. Med Oral Patol Oral Cir Bucal 2012;17:618-23.

MARQUES, MATOS DR, SANTOS FS, T, RODRIGUES TM, PARANHOS JA, MARTINS LR, et al. Perception of caregivers on health and oral hygiene care of the institutionalized impaired elderly. Int. J.Odontostomat 2016;10(3):443-8.

Frenkel H, Harvey I, Newcombe RG. Improving oral health in institutionalised elderly people by educating caregivers: a randomised controlled trial. Community Dent Oral Epidemiol 2001;29(4):289-97.

Blinkhorn FA, Weingarten L, Boivin L.An intervention to improve the oral health of residents in an aged care facility led by nurses. Health Education Journal 2011;71(4):527–535.

Sinavarat P, Manosoontorn S, Anunmana C. Knowledge, attitudes, and behavior towards oral health among a group of staff caring for elderly people in long-term care facilities in Bangkok, Thailand. M Dent J 2018;38 (1):23-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-28