การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม ตำบลบ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • สุรพล สายคำภา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอส่องดาว สกลนคร

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:   เพื่อพัฒนา และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมตำบลบ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
รูปแบบการวิจัย:  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 100 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.82, 0.72 และ 0.86  ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test
ผลการวิจัย :  โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์และประเมินปัญหาแบบมีส่วนร่วมในชุมชน (Problem Identifying and Diagnosing) 2) การกำหนดพันธกิจ ผลลัพธ์ และเป้าหมายการดำเนินงาน(Action Planning) 3)ผู้แทนจากชุมชนและประชาชนได้ร่วมลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม (Taking action) และ 4) การประเมินประสิทธิผลและสรุปผลโครงการ (Completing evaluation) และหลังการใช้โปรแกรมฯ พบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยความรู้  เจตคติ  และการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น มากกว่า ก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001,<.001, <.001, <.001, <.001 และ <.001) ตามลำดับ ทั้งโดยรวม และเป็นรายด้านทุกด้าน
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมส่งให้ความรู้  เจตคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปแกรมนี้ไปใช้

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด; 2563.

วันดี โภคะกุล. มาตรฐานการให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย; 2548.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. รายงานการศึกษาโครงการปรับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์; 2553.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2558.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านถ่อน. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2562. อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร; 2563.

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คำอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู, ทิพวรรณ ทับซ้าย. สถานการณ์ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กองทุนระบบ การดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15 (36): 44-62.

Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University; 1981.

Walker S.N. Health Promoting Lifestyle Older Adult : Comparisons with Young and Middleage Adults, Correlation and Pattern. Journal of Advanced Nursing 1988;11: 76-90.

Resnick, B., Palmer, M. N., Jenkin, L. S., & Spellbring, A. M. Path analysis of efficacy expectations and exercise behaviors in older adults. Journal of Advanced Nursing 2000; 31:1309-15.

จิราภรณ์ อุ่นเสียม. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เขตสุขภาพที่ 11.วารสารวิชาการแพทย์ 2559; 30:261-8.

สุมาลัย วรรณกิจไพศาล. การพัฒนาการจัดรูปแบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมเทศบาล เมืองปากช่อง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2562;3: 92- 104.

ทิพยาภา ดาหาร, เจทสริยา ดาวราช. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม 2561;2: 42-54.

อนงค์ หาญสกุล, ศรีไพร ปอสิงห์. ความรู้และการปฏิบัติตัวในการมีส่วนร่วมต่อการดูแลส่งเสริม สุขภาพตนเองของ ผู้สูงอายุ ตำบลหนองบัวโคก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา. (ฉบับพิเศษ) 2555;15:189-200

พัชราวรรณ จันทร์เพชร, จุฬาภรณ์ โสตะ. การพัฒนาศักยภาพองค์การบริหารส่วนตำบลในการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (บศ.) 2555;12:48-60.

เกษแก้ว เสียงเพราะ, นิศรัตน์ อุตตะมะ, ประกาศิต ทอนช่วย, สายฝน ผุดผ่อง. การพัฒนารูปแบบการ มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ต่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมให้กับผู้สูงอายุ ในชุมชนชนบทของจังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2561; 48:113-126.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ เครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส.ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2560;12:17-29.

อัมมร บุญช่วย. ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการ พัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558;3: 231-244.

พยงค์ ขุนสะอาด, เกวลี เครือจักร. กระบวนการมีส่วนร่วมด้านการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ บ้านฮ่องแฮ่ ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28 (ฉบับเพิ่มเติม 2):16-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-28