การพัฒนากระบวนการแก้ไขปัญหาการสัมผัสสารตะกั่วในนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสวาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
กระบวนการแก้ไข, ปัญหาการสัมผัสสารตะกั่วในนักเรียนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนากระบวนการแก้ไขการสัมผัสสารตะกั่วของเด็กนักเรียนที่มีปริมาณสารตะกั่วในเลือดสูงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสวาง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research design)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายศึกษาจากผู้ปกครองเด็ก จำนวน 13 คน และครู 2 คน และผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยใช้กระบวนการแก้ไขการสัมผัสสารตะกั่วของเด็กนักเรียนที่มีปริมาณสารตะกั่วในเลือดสูงในศูนย์พัฒนาเด็ก เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Percentage Deference
ผลการวิจัย : พบว่าสภาพแวดล้อมภายในและพฤติกรรมเด็กมีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสสารตะกั่วของเด็ก และนักเรียนส่วนใหญ่มีปริมาณสารตะกั่วในเลือดระดับ 2.2 - 12.5 ไมโครกรัม / เดซิลิตร กระบวนการแก้ไขปัญหาการสัมผัสสารตะกั่ว ประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และการระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม และครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองเด็กมีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วในเด็กนักเรียน เพิ่มขึ้น และส่งผลให้ปริมาณสารตะกั่วในเลือดเด็กนักเรียนลดลงอย่างชัดเจน
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ครูและผู้ปกครองเด็กมีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการสัมผัสสารตะกั่ว เพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำรูปแบบนี้ไปใช้ในหน่วยงาน
References
World Health Organization. Lead Poisoning and Health. [Internet]. 2019 [updated 2019 Feb 9; cited 2018 Aug 10]. Available from: http://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/lead-poisoning-and-health
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. พิษร้ายใกล้ตัว สารตะกั่วใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. นนทบุรี; 2559.
Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR). Lead Toxicity. 2017. Available from:https://www.atsdr.cdc.gov/csem/lead/docs/CSEM-Lead_toxicity_508.pdf
อรพันธ์ อันติมานนท์และคณะ. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แนวทางการดำเนินงาน เกษตรกรปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานเฝ้า ระวัง ป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วในเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโรคจาก การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค; 2558.
ทรงทรัพย์ พิมพ์ชายน้อย, สุพัตรา สิมมาทัน,พิไลลักษณ์ พลพิลา และธมลวรรณ จันเต. โครงการ เด็กฉลาดปลอดภัย ห่างไกลสารตะกั่ว: สถานการณ์การสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก กลุ่มอายุแรกเกิด-5 ปี. สำนักงานควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2562.
Green, L. W., & Kreuter, M. W. Health program planning (4thed.). London: McGraw-Hill;2005.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. พิษร้ายใกล้ตัวสารตะกั่วในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก. นนทบุรี; 2559.
เกษรา ญาณเวทย์สกุล และวิยะดา แซ่เตีย. รูปแบบการป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วของเด็กในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่ภาคใต้ตอนบน. วารสารควบคุมโรค. 2561;44:217-226.
เนตรชนก จุละวรรณโณ. ผลการให้ความรู้รายบุคคลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย วัณโรค. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3: (1):17-30.
วศินี สมศิริ และจินตนา ชูเซ่ง. ผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้การรับรู้ ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการทำหัตถการ หลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2554;3(3):33-46
สุภาพร แนวบุตร และสายศิริ มีระเสน. ผลของการให้ความรู้แก่บุคลากรทางด้านสาธารณสุข เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2559;8(1):25–36
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง