ผลของการใช้โปรแกรมการลดการบริโภคโซเดียมในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

Main Article Content

ไมมูณี อิสายะ
มลธนิญา คงสม
สถาพร ภัทราภินันท์

บทคัดย่อ

บทนำ: จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง พบว่า กลุ่มเสี่ยงบริโภคอาหารหวาน มัน และเค็ม ขาดความรู้ที่จำเป็นในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การไม่ออกกำลังกาย หากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็จะพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ตามมา


วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่ม วัดก่อน และหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมในการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ ปริมาณโซเดียมในอาหาร และค่าระดับความดันโลหิต      กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง จำนวน 37 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 37 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Wilcoxon match pairs sign rank test และ Mann-Whitney U test


ผลการศึกษา: ในกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม การเติม เครื่องปรุงในอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม ปริมาณโซเดียมในอาหาร ค่าระดับความดัน Systolic และค่าระดับความดัน Diastolic (p-value < 0.001) ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม (p-value=0.013) พฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงในอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม (p-value=0.003) ปริมาณโซเดียมในอาหาร (p-value <0.001) ค่าระดับความดันโลหิต Systolic (p-value=0.027) และค่าระดับความดันโลหิต Diastolic (p-value=0.006) ระหว่างกลุ่มทดลอง และ กลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%


สรุปผล: ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม พฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงในอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม ปริมาณโซเดียมในอาหาร ค่าระดับความดันโลหิต Systolic และค่าระดับความดันโลหิต Diastolic ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย