การยอมรับและความลังเลในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชน ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

Main Article Content

ชลลดา แก้วสองสี
รสสุคนธ์ คำกลั่น
สถาพร ภัทราภินันท์

บทคัดย่อ

บทนำ: ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล พบผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 สะสม จำนวน 862 คน ประชากรที่มีความประสงค์รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 จำนวน 16,898 คน คิดเป็น 62.05 % ของประชากรอำเภอควนโดนซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชาชนทั้งอำเภอ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับและความลังเลในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล


วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical study) แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จำนวน 443 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าสัดส่วน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนการยอมรับวัคซีน ร้อยละ 50.1 มีความลังเลในวัคซีนร้อยละ 31.8 และ       ไม่ยอมรับวัคซีน ร้อยละ 18.1 ในกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับวัคซีนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว ร้อยละ 97.7 เหตุผลเพื่อสะดวกต่อการเดินทางและการดำเนินชีวิต ร้อยละ 44.7 ส่วนมากรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จากแพทย์ ร้อยละ 63.4 กลุ่มตัวอย่างที่มีความลังเลวัคซีนส่วนมากเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ร้อยละ 66.0 เหตุผล เนื่องจากไม่ประสงค์จะรับวัคซีน ร้อยละ 82.8 ส่วนมากรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จากโซเชียลมีเดีย ร้อยละ 86.3 กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ยอมรับวัคซีนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ร้อยละ 98.8 เหตุผลเนื่องจากไม่ประสงค์จะรับวัคซีน ร้อยละ 93.7 รองลงมา คือ ไม่มั่นใจในวัคซีน ร้อยละ 3.8 และกลัวผลข้างเคียง ร้อยละ 2.5 ส่วนมากรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จากครอบครัว/เพื่อน ร้อยละ 20.0


สรุปผล: กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนการยอมรับวัคซีน ร้อยละ 50.1 มีความลังเลในวัคซีนร้อยละ 31.8 และ       ไม่ยอมรับวัคซีน ร้อยละ 18.1 เหตุผลสำคัญเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียง และความปลอดภัยของวัคซีน ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ได้รับจากแพทย์ โซเชียลมีเดีย และครอบครัว/เพื่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย