ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นั้นมีโอกาสที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุนี้จะช่วยลดปัญหาอาการแทรกซ้อนดังกล่าวได้
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มีอายุ 60-89 ปี ที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลบางแก้วและกลุ่มผู้ดูแล กลุ่มทดลองจำนวน 47 คน เป็นผู้สูงอายุ 24 คน และผู้ดูแลจำนวน 23 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 45 คน เป็นผู้สูงอายุ 24 คน และผู้ดูแล 21 โดยโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประกอบไปด้วยใบสะสมแต้มระดับน้ำตาลในเลือด และแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน การบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด นำตัวแบบด้านบวกมาเล่าประสบการณ์ และการติดตามเยี่ยมบ้าน ใช้สถิติเชิงพรรณนา, Paired t-test , Wilcoxon Sign Rank test และสถิติ Mann-Whitney U test
ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุมีคะแนนทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน คะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คะแนนพฤติกรรมการรับประทานยา ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน (p < 0.05) สำหรับกลุ่มผู้ดูแลพบว่าความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวานแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (p < 0.05) หลังจากการทดลองพบว่าผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลงกว่าก่อนการทดลอง ( p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
สรุปผล:การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการจัดอบรมให้ความรู้ผู้ดูแล ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.