การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างกระบวนการขอตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
  • บทความอยู่ในรูปแบบไฟล์ชนิด OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • กรณีที่มีข้อมูล URLs หรือDOI ของเอกสารที่มีการอ้างอิง ให้แสดงรายละเอียดของ URLs หรือ DOIเพิ่ม
  • ตัวอักษรในบทความ รูปแบบ single-spaced, ขนาด 12-point font, ใช้ตัวเอียงได้ ไม่แนะนำขีดเส้นใต้ยกเว้นในส่วนแสดงของที่อยู่ URLs ส่วนตาราง รูปภาพ หรือกราฟ ให้วางในตำแหน่งในบทความ (within the text) ไม่แนะนำให้วางในส่วนท้ายสุดของบทความ
  • ความสอดคล้องของตัวอักษร และรูปแบบเนื้อหาของบทความ ให้สอดคล้องตามแนวทางของวารสารฯ
  • ผลงานวิจัย หรือรายงานผู้ป่วยนี้ ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
  • รายการอ้างอิงใช้ภาษาอังกฤษทุกรายการ การอ้างอิงในบทใช้ตัวเลขยก ระบบแวนคูเวอร์ จำนวน 6 ชื่อต่อท้ายด้วย และคณะ
  • วารสารฯมีนโยบายค่าธรรมเนียมการส่งตีพิมพ์บทความและพร้อมกันนี้ได้ทำการชำระค่าธรรมเนียมและส่งหลักฐานมาพร้อมกันนี้แล้ว

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับการทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์: คลิกอ่านเอกสาร

คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ (ดาวน์โหลด PDF)

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน (30-10-2023)

วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ มีนโยบายเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและบทความที่น่าสนใจแก่ผู้ที่อยู่ในวงการสาธารณสุข โดยเปิดโอกาสให้มีการเสนอบทความประเภทต่างๆทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  • เนื้อหาของบทความ ชื่อเรื่อง ควรสั้นและได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง
  • ควรเขียนด้วยภาษาที่ง่ายกะทัดรัดและชัดเจน ถ้าใช้คำย่อต้องบอกคำเต็มไว้ก่อนครั้งแรก
  • กรณีต้นฉบับที่เป็นภาษาไทย ควรใช้ภาษาไทยให้มากที่สุด ยกเว้นแต่คำภาษาอังกฤษที่แปลไม่ได้ หรือแปลแล้วทำให้ใจความไม่ชัดเจน
  • เอกสารอ้างอิงควรมีทุกบทความ
  • เรื่องที่ส่งมาพิมพ์ ต้องไม่เคยพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อนหรือกำลังรอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  • คณะบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตีพิมพ์บทความทุกเรื่อง เรื่องที่ตีพิมพ์แล้วเป็นสมบัติของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ ทุกประการ
  • ข้อความและข้อคิดเห็นในเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

คำแนะนำสำหรับการเตรียมต้นฉบับ

  1. หลักเกณฑ์การพิมพ์ต้นฉบับ

ส่วนบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละ 1 หน้า

  • ขนาด A4 รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 14 เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด
  • ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้เขียน (Authors) ทุกคน พร้อมวุฒิการศึกษาสูงสุด และสังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โครงสร้างประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย ผลการศึกษา และสรุปผล
  • คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญที่ใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูล
  • ผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ทำเครื่องหมาย * ไว้บนนามสกุลและระบุหมายเลข โทรศัพท์และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
  • จำนวนคำในบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 350 คำ
  1. ส่วนเนื้อหาประกอบด้วย
    • คำนำ (Introduction) บอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ และรวมถึงการทบทวนวรรณกรรม (Literature review)
    • วิธีการ (Methodology)
    • ผลการศึกษา (Results) และอภิปราย (Discussion) อาจเขียนรวมกันได้
    • ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
    • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) จะมีหรือไม่มีก็ได้
    • เอกสารอ้างอิง (References) ต้องไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง เขียนเรียงลำดับตามตัวเลขใช้อ้างอิง โดยใช้ระบบอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style)
    • รูปกราฟหรือตาราง รวมกันแล้วไม่เกิน 8 ภาพ/ตาราง ให้ใช้ภาษาอังกฤษ (ถ้าได้)
    • ภาพประกอบควรเป็นภาพถ่ายขาว-ดำที่ชัดเจน นอกจากจำเป็นจึงใช้ภาพสี ถ้าเป็นภาพลวดลายเส้นวาดบนกระดาษขนาด A4 โดยใช้หมึกดำ ควรวาดให้สะอาดและลายเส้นคมชัด
    • จำนวนคำ ไม่เกิน 5,000 คำ หรือ 10 หน้า ไม่นับรวมบทคัดย่อ บรรณานุกรมหรืออ้างอิง
  2. ประเภทต่าง ๆ ของงานนิพนธ์
    • รายงานการวิจัย (Research article) หรืองานวิจัยแพทยศาสตร์ประกอบไปด้วย 
      • ชื่อเรื่อง
      • ผู้นิพนธ์และสังกัด
      • บทคัดย่อและคำสำคัญ
      • คำสำคัญ
      • บทนำ
      • ระเบียบวิธีวิจัย/วิธีการ
      • ผลการศึกษา
      • บทวิจารณ์ (รวมทั้งสรุป)
      • เอกสารอ้างอิง
    • บทความวิชาการ (General article) ประกอบไปด้วย
      • ชื่อเรื่อง
      • ผู้นิพนธ์และสังกัด
      • บทคัดย่อและคำสำคัญ
      • บทนำ
      • รายละเอียดทางวิชาการวิจารณ์ (รวมทั้งสรุป)
      • เอกสารอ้างอิง
    • รายงานผู้ป่วย (Case Report) ประกอบไปด้วย
      • ชื่อเรื่อง
      • ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด
      • บทคัดย่อและคำสำคัญ
      • บทนำ
      • รายงานผู้ป่วยรวมบทวิจารณ์
      • เอกสารอ้างอิง
    • บทความฟื้นวิชา (Review article) ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่ ๆ หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านจะนำไปประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย
      • บทนำ เนื้อเรื่อง และเอกสารอ้างอิง
    • บทความพิเศษ (Special article) ควรเป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในแง่มุมที่ผู้เขียนสนใจ
    • ย่อวารสาร (Journal Abstract) เป็นบทความสั้น ๆ ที่แปลและรวมเรื่องจากวารสารประเภท ที่ตีพิมพ์มาแล้วไม่นาน และเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
    • บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทความที่เขียนวิจารณ์บทความใดบทความหนึ่งที่อยู่ในวารสารฉบับนี้ รวมทั้งเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ๆ เพื่อทำให้บทความที่วิจารณ์นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือบทความอื่นใดที่บรรณาธิการเห็นสมควร
  1. เอกสารอ้างอิง

ให้ใช้ระบบ VANCOUVER’S INTERNATIONAL COMMITTEE OF MEDICAL JOURNAL EDITORS (ค.ศ.1982)

  • ให้ใช้ภาษาอังกฤษในทุกรายการอ้างอิง 
  • ใช้ระบบหมายเลข รูปแบบตัวยก เรียงลำดับที่อ้างอิง ใส่ไว้ในเนื้อเรื่อง
  • การย่อชื่อวารสารให้ใช้ตาม Index Medicus หรือตรวจสอบได้จาก NLM Catalog : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/nlmcatalog ส่วนวารสารภาษาไทยให้ใช้รูปย่อตามมาตรฐานของวารสารนั้น หากไม่มีให้ใช้ชื่อเต็ม
  • การอ้างอิงชื่อผู้แต่ง ถ้ามีผู้แต่งไม่เกิน 6 คนให้ใส่ชื่อผู้แต่งทุกคน แต่ถ้ามีมากกว่า 6 คนให้ใส่เพียง 6 ชื่อแรกแล้วเติม et al. 
  • ชื่อผู้นิพนธ์ภาษาอังกฤษ ใช้ชื่อสกุลเต็ม(Family name) ตามด้วยอักษรนำชื่อตัว (Given name, First name) ไม่เกิน 2 ตัวอักษร
  • สำหรับเอกสารอ้างอิงภาษาไทยให้เขียนแบบเดียวกันกับภาษาอังกฤษ และใช้ ปี ค.ศ. โดยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษตามหลักของระบบอ้างอิงแวนคูเวอร์ และใส่ (In Thai) ไว้ท้ายสุด โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ฉบับที่ 12 เล่ม1 ปี พ.ศ. 2564

 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

การเขียนอ้างอิงวารสาร

ชื่อผู้แต่ง [ไม่เกิน 6 ชื่อ, แทนชื่อที่เกินด้วย et al (คณะ)]. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร ปีค.ศ.(หรือ พ.ศ.); ฉบับที่: เลขหน้า.

Throckmorton AD, Boughey JC, Boostrom SY, Holifield AC, Stobbs MM, Hoskin T, et al. Postoperative prophylactic antibiotics and surgical site infection rates in breast surgery patients. Ann Surg Oncol 2009;16(9):2464-9.

Intarajun Y, Akasin K. The Development of a Drug Sharing Inventory Network And Guidelines for the Management of a Drug Referral System in Chiang Mai Province. J Nakornping Hosp. 2021;12(1):114-30. [In Thai]

การเขียนอ้างอิงหนังสือหรือตำรา

ชื่อผู้แต่ง (หรือบรรณาธิการ). ชื่อหนังสือ, พิมพ์ครั้งที่(กรณีไม่ใช่พิมพ์ครั้งแรก), เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์: ปีที่พิมพ์.

Travell JG, Simon DG. Myofascial pain and dysfunction: the trigger point manual, vol1. Baltimore: William & Wilkins; 1983.

การเขียนอ้างอิงบทจากหนังสือหรือตำรา

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทที่อ้างอิง. ใน(In): ชื่อบรรณาธิการ, editor(s). ชื่อหนังสือ, พิมพ์ครั้งที่ ed.(กรณีไม่ใช่พิมพ์ครั้งแรก) เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. หน้า เลขหน้า.

Iglehart JD, Kaelin CM. Diseases of the breast. In: Townsend CM, Beauchamp RD, Evers BM, Mattox KL, editors. Sabiston textbook of surgery, 17th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2004. p.867-928.

การเขียนอ้างอิงบทความจากสื่ออินเทอร์เน็ต

มีรูปแบบและองค์ประกอบ :

หน่วยงานหรือผู้เขียน.ชื่อเรื่อง[อินเทอร์เน็ต].เมืองที่พิมพ์:สำนักพิมพ์;cปีที่พิมพ์[ปรับปรุงเมื่อวันเดือนปี;√เข้าถึงเมื่อวันเดือนปี].เข้าถึงได้จาก:√http://.....

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines [Internet]. Switzerland: World Health Organization; c2023 [updated 2022 May 17; cited 2022 May 30] Available from: https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/coronavirus-disease-(covid-19)-vaccines

การเขียนอ้างอิงอื่นๆ ที่ไม่เข้ากับตัวอย่างที่แสดงไว้ สามารถเข้าศึกษาวิธีการอ้างอิงได้ที่ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK7256/

 

การส่งต้นฉบับ

วารสารฯ รับบทความทางระบบออนไลน์ในระบบวารสารไทย (Thai Journals Online: ThaiJO)

วารสารฯมีค่าธรรมเนียมการส่งตีพิมพ์ บทความละ 3,000 บาท โดยชำระค่าธรรมเนียมพร้อมกับการส่งบทความ บุคลากรภายในโรงพยาบาลนครพิงค์สามารถขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้เฉพาะกรณีมีชื่อเป็นผู้แต่งชื่อแรก และกรอกข้อมูลเพื่อแสดงตัวตน (เอกสารแสดงบุคลากรนครพิงค์) แนบพร้อมบทความที่จะตีพิมพ์

ผู้เขียนสมัครเป็นสมาชิกได้จากเว็บวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ สมัครได้ที่

https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp

การส่งบทความเพื่อขอรับการตีพิมพ์

https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp/about/submissions

ผู้ประสานงาน       ฝ่ายเลขานุการ กลุ่มงานพัฒนาระบบคุณภาพและวิจัย โรงพยาบาลนครพิงค์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

โทร. 0-5399-9200 ต่อ 1174 E-mail: nkp.qc.r2r@gmail.com

 

 

ขั้นตอนการจัดทำวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์

บทบรรณาธิการ

บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทความที่เขียนวิจารณ์บทความใดบทความหนึ่งที่อยู่ในวารสารฉบับนี้ รวมทั้งเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ๆ เพื่อทำให้บทความที่วิจารณ์นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือบทความอื่นใดที่บรรณาธิการเห็นสมควร

รายงานการวิจัย

รายงานการวิจัย (Research article) ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง ผู้นิพนธ์และสังกัด บทคัดย่อ/และคำดรรชนี บทนำ วิธีการ ผลวิจารณ์ (รวมทั้งสรุป) เอกสารอ้างอิง

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ (General article) ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง ผู้นิพนธ์และสังกัด เรื่องย่อหรือบทคัดย่อ/และคำดรรชนี บทนำ รายละเอียดทางวิชาการวิจารณ์ (รวมทั้งสรุป) เอกสารอ้างอิง

รายงานผู้ป่วย

รายงานผู้ป่วย (Case Report) ประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ/และคำสำคัญ บทนำ รายงานผู้ป่วยวิจารณ์และเอกสารอ้างอิง

บทความฟื้นวิชา

บทความฟื้นวิชา (Review article) ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่ ๆ หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านจะนำไปประยุกต์ใช้ ประกอบด้วยบทนำ เนื้อเรื่อง และเอกสารอ้างอิง

บทความพิเศษ

บทความพิเศษ (Special article) ควรเป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในแง่มุมที่ผู้เขียนสนใจ

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่ของท่านที่กรอกมาในวารสารนี้จะถูกใช้ในกิจกรรมที่เป็นวารสารเท่านั้น และจะไม่เปิดเผยให้บุคคลหรือองค์กรอื่นใดทราบ