การพัฒนานโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกล โดยกลไกความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การดูแล, ผู้มีภาวะพึ่งพิง, เทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายและประเมินผลการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกลโดยกลไกความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดฉะเชิงเทรา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงนโยบาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ บุคลากรสาธารณสุข บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วยเหลือดูแลและผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง การสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า นโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ระยะไกล จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) กำหนดให้การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ทางไกลให้เป็นวาระหลัก 2) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นเจ้าภาพหลักในการระดมทรัพยากร 3) พัฒนาทักษะการใช้ระบบการสื่อสารทางไกลสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 4) ประชาสัมพันธ์ระบบการแพทย์ทางไกลและระบบสารสนเทศการแพทย์การไกล (Dash Board) เพื่อความเข้าใจของชุมชนและเพิ่มความครอบคลุมการเข้าถึงบริการและ 5) สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานด้านสาธารณสุขเพื่อติดตามผลการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง และผลการประเมินนโยบายการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบการแพทย์ระยะไกล พบว่าการจัดบริการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดฉะเชิงเทราในภาพรวมพบว่ามีการปฏิบัติในระดับมาก ( =3.55, S.D=0.80) และเมื่อพิจารณารายด้านทั้งด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่ามีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน โดยด้านสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (=4.10, S.D.=0.85 รองลงมาได้แก่ด้านปัจจัยนำเข้า (=3.41, S.D.=0.76) ด้านกระบวนการ (=3.33, S.D.=1.02) และด้านผลผลิต (=3.25, S.D.=1.12) ซึ่งผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและจัดระบบการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ระยะไกล
References
Pender J. Nola. Health promotion in nursing practice. 6th ed. New Jersey: Pearson Education; 2001.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการใช้ DMS Telemedicine กรมการแพทย์. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2566.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. สรุปผลการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ 2566. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา; 2566.
สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน. การวิจัยเชิงนโยบายคืออะไร และทำอย่างไร. วารสารบริหารงานสาธารณสุข 2550; 13(2): 56-71.
วิภาดา มุกดา, วันเพ็ญ ควรสมาน. การประเมินระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว 12 เมืองต้องห้ามพลาด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 2563; 14(3): 178-97.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น; 2551.
ชวลิต สวัสดิ์ผล, ธวัชชัย เพ็งพินิจ, อัครเดช เสนานิกรณ์, วาร ศรีสุรพล. การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2560.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
ภาสกร สวนเรือง, อาณัติ วรรณศรี, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. การดูและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชนภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(3): 437-51.
รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์, ณภัทรกฤต จันทวงศ์. การวิจัยประเมินผลโครงการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลบ้านลา อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(6): 1076-85.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น