ผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน แบบบูรณาการความร่วมมือ ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คณะกรรมการ พชอ., ป้องกันการบาดเจ็บทางถนนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน แบบบูรณาการความร่วมมือผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเป้าหมาย 61 คน เป็น คณะกรรมการ พชอ. ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับตำบล เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกประเด็นอภิปราย/กิจกรรม/การประเมินผล แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 1) การวิเคราะห์ปัญหาสภาพการดำเนินงานพบว่า พฤติกรรมการขับขี่ จุดเสี่ยง ยานพาหนะ สาเหตุการเสียชีวิต กวดขันวินัยจราจร และความร่วมมือของหน่วยงาน 2) รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน มี 4 โครงการคือ การบูรณาการความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน การพัฒนาชุมชนต้นแบบขับขี่ปลอดภัย การแก้ไขจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอำเภอซำสูง และสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิต และ 3) ผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่า การมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพ อยู่ระดับมากที่สุด ชุมชนต้นแบบด้านการขับขี่ปลอดภัย ในระหว่างปีพ.ศ.2560 – 2565 ผู้บาดเจ็บ 442, 316, 289, 333, 360 และ 161 ราย และผู้เสียชีวิต 4.21, 4.21, 8.42, 29.56, 12.56 และ 8.42 ต่อแสนประชากร และเป็นอำเภอดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากจราจรทางถนนระดับอำเภอในระดับดีเยี่ยม
ควรมีการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกคณะกรรมการ พชอ. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
References
World Health Organization. Global Status Report on Road Safety 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.
กรมควบคุมโรค. ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากระบบบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://data.go.th/dataset/rtddi
กลุ่มโรคไม่ติดต่อ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.เอกสารรายงานการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2565.
ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนท้องถิ่นอำเภอซำสูง. เอกสารประกอบการประเมินรับรองคุณภาพการดำเนินงานป้องกันและลดการตายจากอุบัติเหตุทางถนน. ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนท้องถิ่นอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น; 2566.
อำนาจ ราชบัณฑิต. รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2565; 29(3): 98-110.
สมบูรณ์ จิตต์พิมาย. ผลการจัดการด่านชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2564; 7(1): 237-55.
นัธทวัฒน์ ดีดาษ, พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2564; 18(1): 233-46.
ฉลองชัย สิทธิวัง, นิคม สุนทร, กรภัทร ขันไชย, ชาญชัย มหาวัน, นิคม อุทุมพร, เกษร ไชยวุฒิ และคณะ. การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564.
สมบูรณ์ แนวมั่น. รูปแบบการดำาเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลโคกหล่าม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2563; 18(1): 40-51.
อารุณรัตศ์ อรุณนุมาศ และวิสิทธิ์ มารินทร์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563; 16(1): 82-93.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Australia: Deakin University Press; 1988.
Stufflebeam DL. Educational evaluation and decision making. Illinois: Peacock; 1981.
ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
สมพงษ์ จรุงจิตตานุสนธิ์.รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากจราจรทางถนนโดยมาตรการด่านชุมชนจังหวัดขอนแก่นปี 2559. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(2): 183 – 95.
ปานทิพย์ จิ๋วรี. การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บทางท้องถนน (D-RTI) อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. นำเสนอผลงานวิชาการในประชุมสัมมนาสานพลัง สร้างแรงใจ สู่เครือข่ายโรคไม่ติดต่อ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน และจมน้ำ เขตสุขภาพที 3 ในวันที่ 16 ก.ย.2562; 2562.
คณะทำงานสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด. แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) แนวทางการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนน ภายใต้การสนับสนุนโครงการนวัตกรรมและพัฒนาจังหวัดเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ (Best Practice สอจร.). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น