ผลการพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ โดยใช้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
ผลการพัฒนาแนวทางและกลไก , การป้องกันควบคุมโรค, การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคโดยแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ผู้บริหาร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระยะเวลาการวิจัยเดือนตุลาคม 2562 ถึง เดือนธันวาคม 2565 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางและกลไกการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอใช้กระบวนการ PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ วางแผน (Planning) ปฏิบัติการ (Action) สังเกตการณ์ (Observation) สะท้อนผลลัพธ์ (Reflecting) ระยะที่ 3 การประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 ยังไม่มีแนวทางและกลไกการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่ชัดเจน ระยะที่ 2 วางแผนการพัฒนา นำความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากำหนดได้กลยุทธ์คือ GDL2C คือ G:Goal กำหนดเป้าหมายแนวทางการพัฒนาร่วมกัน D: Deployment สื่อสารถ่ายทอดให้เข้าใจร่วมกัน L:Learning การปรับปรุงวิธีทำงาน พัฒนาศักยภาพ แบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ C: Collaboration การเชื่อมโยงสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน C: Continuous ความต่อเนื่องของการดำเนินงาน ระยะที่ 3 ติดตามประเมินผล ผลลัพธ์การใช้แนวทางและกลไกการพัฒนา พบว่า คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน มีการนำข้อมูลมิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจมาวิเคราะห์และสอดคล้องกับการเลือกประเด็นปัญหาในพื้นที่ มีการสื่อสารถ่ายทอดและกำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ชัดเจน รูปแบบกิจกรรมทำงานเชิงรุกมากขึ้นและผลลัพธ์ของการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่นำร่องเป็นไปตามเกณฑ์ที่อำเภอวางไว้ ดังนั้นแนวทางและกลไกที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในเขตสุขภาพที่ 7 ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้
References
Tarimo E, Fowkes FGR. Strengthening the backbone of primary health care. World Health Forum 1989; 10(1): 74-9.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. แผนสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
World Health Organization. WHO global strategy on people-centred and integrated health services. Geneva: World Health Organization; 2015.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา 2561; เล่ม 135 ตอนพิเศษ 54ง หน้า 1-7.
สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย. บันทึกความร่วมมือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl-ddc.moph.go.th/KZTt9
Ministry of Health New Zealand. Guidelines for district health boards mental health quality monitoring and audit. Wellington: New Zealand; 2002.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฉบับมิถุนายน 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl-ddc.moph.go.th/GgCKI
Kemmis S, McTaggart R. The action research planer. 3rd ed. Geelong, Australia: Deak in University Press; 1988.
คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เพื่อพัฒนาระบบป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ. แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี (2561-2680) ฉบับย่อ. นนทบุรี: กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
ดวงดาว สารัตน์, ประภัทรสร พิมพ์ดี, ดวงเดือน ศรีมาดี, ประชัน อาจนนลา, ฐิติกรณ์ ไชยรัตน์ . การพัฒนาระบบและกลไกการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด19) โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 3(2): 108-23.
กานต์ชัชพิสิฐ คงเสถียรพงษ์, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ : ความท้าทายและการพัฒนา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ 2564; 13(2): 275–86.
อดุลย์ บำรุง. ข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.). วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562; 1(1): 87-101.
ถนัด ใบยา, ยุพิน แตงอ่อน. การประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2565; 18(1): 59-68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น