ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ของเยาวชน : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ปริญญา ดาระสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐกฤตา ศิริโสภณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ , พฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์, เยาวชน

บทคัดย่อ

       การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 ฐานข้อมูลที่มีการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับการตีพิมพ์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นบทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

        ผลการศึกษา พบว่า มีบทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 13 เรื่อง ซึ่งมีปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ได้แก่ เจตคติในการไม่บริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ และการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน

        ข้อเสนอแนะจากข้อค้นพบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชนครั้งนี้ นักวิจัยและผู้ที่สนใจการสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ควรนำองค์ประกอบที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนารูปแบบหรือกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชน ตามบริบทของพื้นที่ต่อไป

References

World Health Organization. WHO report on the global tobacco epidemic 2021: addressing new and emerging products [internet]. 2021 [cited 2023 August 1]; Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240032095

Krüsemann EJZ, Boesveldt S, de Graaf K, Talhout R. An E-Liquid Flavor Wheel: A Shared Vocabulary Based on Systematically Reviewing E-Liquid Flavor Classifications in Literature. Nicotine Tob Res 2019; 21(10): 1310-9.

World Health Organization. WHO report on the global tobacco epidemic, 2023: protect people from tobacco smoke [internet]. 2023. [cited 2023 September 30]; Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240077164

Department of Health Ministry of Public Health, Thailand and World Health Organization. Global School-Based Student Health Survey 2021 [internet]. 2021 [cited 2023 September 1]; Available from: https://extranet.who.int/ncdsmicrodata/index.php/catalog/946

Doherty J, Davison J, McLaughlin M, Giles M, Dunwoody L, McDowell C, et al. Prevalence, knowledge and factors associated with e-cigarette use among parents of secondary school children. Public Health Pract (Oxf) 2022; 4: 100334.

Dai HD, Ratnapradipa K, Michaud TL, King KM, Guenzel N, Tamrakar N, et al. Vaping Media Literacy, Harm Perception, and Susceptibility of E-Cigarette Use Among Youth. Am J Prev Med 2022; 63(5): 852 – 60.

Simpson EEA, Davison J, Doherty J, Dunwoody L, McDowell C, McLaughlin M, et al. Employing the theory of planned behaviour to design an e-cigarette education resource for use in secondary schools. BMC Public Health 2022; 22(276): 1-22.

กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม พ.ศ. 2565 - 2570. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

Bandura A, National Inst of Mental Health. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. New York: Prentice-Hall, Inc.; 1986.

Hershberger A, Connors M, Um M, Cyders MA. The Theory of Planned Behavior and E-cig Use: Impulsive Personality, E-cig Attitudes, and E-cig Use. Int J Ment Health Addict 2018; 16(2): 366 - 76.

Ickes MJ, Zidzik O, Vanderford NL. Engaging Rural High School Youth in E-cigarette Prevention and Advocacy. J Interprof Health Promot 2021; 3(2): 3.

Scheinfeld E, Crook B, Perry CL. Understanding Young Adults' E-cigarette Use through the Theory of Planned Behavior. Health Behav Policy Rev 2019; 6(2): 115-27.

Aljaberi FKD, Yao-Jr JJ. Predicting Electronic Cigarette Use Among Adults in the Philippines. Asia-Pacific Journal of Health Management 2021; 16(3): 243-8.

Ajzen I, Fishbein M. The Influence of Attitudes on Behavior [internet]. Lawrence Erlbaum Associates Publishers; 2005 [cited 2023 September 19]; Available from: https://psycnet.apa.org/record/2005-04648-005

Kelder SH, Mantey DS, Van Dusen D, Case K, Haas A, Springer AE. A Middle School Program to Prevent E-Cigarette Use: A Pilot Study of "CATCH My Breath". Public Health Rep 2020; 135(2): 220-9.

Kim S, Lee H, Lee JJ, Hong HC, Lim S, Kim J. Psychometric Properties of the Korean Version of the Smoking Media Literacy Scale for Adolescents. Front Public Health 2022; 9: 731778.

Nutbeam D, Muscat DM. Health promotion glossary. Health Promot Int 2021; 36(6) :1578 - 98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31