ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ของทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ, ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง, เลิกบุหรี่, ทหารกองประจำการบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ของทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นทหารกองประจำการ ค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น ที่ติดนิโคติน สูบบุหรี่ 1 ปีขึ้นไป และอยู่ในขั้นลังเลใจที่จะเลิกบุหรี่ จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ที่สร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างแรงจูงใจ โดยอ้างอิงทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ 3) แบบประเมินพฤติกรรมเลิกบุหรี่ 4) แบบประเมินระดับการติดนิโคติน 5) แบบประเมินขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่ 6) การวัดระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยค่าดัชนีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิแอลฟ่าของคอนบราคมากกว่า 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซันซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ พฤติกรรมเลิกบุหรี่ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ระดับการติดนิโคตินและระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ หลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.001 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบก่อนทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ พฤติกรรมเลิกบุหรี่ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกบุหรี่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีระดับการติดนิโคติน ระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001
ข้อเสนอแนะควรนำโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการเลิกบุหรี่ไปใช้ในกลุ่มทหารใหม่และมีการประเมินการติดนิโคตินทุกราย
References
GBD 2019 Tobacco Collaborators. Spatial, temporal, and demographic patterns in prevalence of smoking tobacco use and attributable disease burden in 204 countries and territories, 1990–2019: a systematic analysis from the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet 2021; 397(10292): 2337-60.
Ezzati M, Lopez AD. Estimates of Global Mortality attributable to smoking in 2000. Lancet 2003; 362(9387): 847-52.
Gajalakshmi CK, Jha P, Ranson K, Nguyen S. Global patterns of smoking and smoking-attributable mortality: tobacco control in developing countries. Oxford: Oxford University Press; 2000.
กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564.
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.
รณชัย คงสกนธ์. มุ่งมั่นตั้งใจเลิกบุหรี่ได้จริง. วารสารก้าวทันวิจัยกับ ศจย. 2564; 13 (2): 4-6.
Holder HD, Cisler RA, Longabaugh R, Stout RL, Treno AJ, Zweben A. Alcoholism treatment and medical care costs from Project MATCH. Addiction. 2000; 95(7): 999-1013.
จารุวรรณ ไชยบุบผา, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการสมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้รับบริการชาย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 26(4): 10-20.
Rolnick S, Miller WR. What is motivational interviewing? Behavioural and Cognitive Psychotherapy 1995; 23(4): 325–34.
Prochaska JO, DiClemente CC. Transtheoritical therapy: toward a more integrative model of change. Psychotherapy: theory, Research & Practice 1982; 19(3): 276-88.
สุกัญญา คำก้อน, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, สุรินธร กลัมพากร, สุคนธา ศิริ. โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่สำหรับผู้กลับมาสูบซ้ำของทหารกองประจำการในค่ายหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาล 2562; 69(1): 44-53.
กรองจิต วาทีสาธกกิจ. การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในงานประจำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่; 2551.
ภาสกร เนตทิพย์วัลย์, สุนีย์ ละกำปั่น, สุรินธร กลัมพากร. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่โดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงสำหรับข้าราชการตำรวจ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 9(1): 82-93.
พยอม สุขเอนกนันท์ โอล์สัน. การเสพติดนิโคติน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 ธันวาคม 2566 ]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=928
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น