ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
โปรแกรม, พฤติกรรมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรม และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ที่ได้จากการเลือกนักเรียนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือทดลองเป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวคิดแบบจำลอง พรีสีด-โพรสีดของกรีนและครูเตอร์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ทักษะปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ และส่วนที่ 3 พฤติกรรมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อเฉลี่ย 0.76 และ 0.77 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.97 และ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา กรณีข้อมูลต่อเนื่องนำเสนอค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีข้อมูลแจงนับนำเสนอค่าความถี่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มทั้งก่อนและหลังได้รับโปรแกรมโดยใช้สถิติ Paired sample t-test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังได้รับโปรแกรมโดยใช้สถิติ Independent sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีทักษะปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นก่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดี ช่วยให้นักเรียนมีทักษะปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้น ช่วยลดจำนวนนักดื่มหน้าใหม่ จึงควรนำไปใช้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น และมีการวิจัยเพื่อพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ต่อไป
References
World Health Organization. Global Status Report on Alcohol and Health - 2018 [Internet]. 2018 [Cited 2019 Jul 21]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/274603.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค. รายงานผลการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1438820200823062406.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานการคัดกรองความชุกผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากรอายุ 15-19 ปี ปีงบประมาณ 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ. 2558 (ระดับเขตสุขภาพ) [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/info/brfss
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำ ปี 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.violence.in.th/publicweb
พัทธรา ลีฬหวรงค์, ทรงยศ พิลาสันต์, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, อกนิฏฐา พูนชัย. รายงานวิจัย: การพัฒนาแบบจำลองการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทย: กรณีศึกษามาตรการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2561.
เอกชัย กันธะวงศ์, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร, อะเคื้อ อุณหเลขกะ. การพัฒนาการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียน. พยาบาลสาร 2558; 42(3): 135-46.
วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพยาบาลเวชชุมชน: ภาวะผู้นำแนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2564.
Green LW, Kreuter MW. Health program planning: An educational an ecological approach. 4th ed. New York: McGraw-Hill; 2005.
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วิลาวัณย์ เสนารัตน์, บรรณาธิการ. การพยาบาลกับการส่งเสริมสุขภาพ. เอกสารการสอนชุดวิชา มโนมติและกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
ซิ่วฮวย แซ่ลิ้ม, กนกพร หมู่พยัคฆ์, นันทวัน สุวรรณรูป. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 37(3): 25-36.
วราภรณ์ แสงอรุณ. โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น ในจังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอครบุรี กระทรวงสาธารณสุข. ระบบงานบัญชี 5 งานอนามัยเด็กวัยเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2562 [โปรแกรมฐานข้อมูล]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: BMS-HOSxP PCU:3.64.7.20
Bandura, A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychol Rev 1977; 84(2): 191–215.
อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, ทัศนีย์ รวิวรกุล, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีในการปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เอ็มเอ็น คอมพิวออฟเซท จำกัด; 2561.
อาภาพร เผ่าวัฒนา, นฤมล เอื้อมณีกูล, สุนีย์ ละกำปั่น, บรรณาธิการ. การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น: แนวคิดและการจัดการหลายระดับ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น; 2561.
สุกัญญา เพิ่มพูล, นิตยา ตากวิริยะนันท์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตในโรงเรียนต่อปัจจัยป้องกันด้านบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2554; 25(3): 128-42.
พีรวัศ คิดกล้า. การประเมินประเด็นปัญหา และการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนภูมิต้นไม้ปัญหา (Problem tree diagram). [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2bbe4a8f89db0e6ca7b6eacd615bb7fc.pdf
ศิริพร รุ่งสุวรรณ. ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตเพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษาที่มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดนครนายก. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559; 33(1): 162-77.
ประทุมพร เชาว์ฉลาด, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดนครปฐม. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2561; 24(2): 210-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น