การทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยาเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 ในชุมชนเขตเมือง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กัญญารัตน์ จารุดิลกกุล สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  • สุพินทอง แสงสุวรรณ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  • วิชาญ บุญกิติกร กองโรคติดต่อทั่วไป
  • ภคพร พานวิจิตรกุล สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

คำสำคัญ:

การทดสอบทางภูมิคุ้มกัน, โควิด 19, ชุมชนเขตเมือง , ปัจจัย, รูปแบบ

บทคัดย่อ

การศึกษาการทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยาเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 ในชุมชนเขตเมืองกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 ของประชาชนในชุมชนเขตคลองเตย และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนารูปแบบการติดตามและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในชุมชนเขตเมือง ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 2 กลุ่ม คือ 1) ประชาชนในชุมชนเขตคลองเตย และ 2) ผู้บริหารและบุคลากรทางการแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ระบบประมวลผลการคัดกรองโรคโควิด 19 (ICN Tracking) และชุดตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด 19 วิธีการวิจัย ใช้การสัมภาษณ์ประกอบข้อมูลการลงทะเบียนในระบบ ICN Tracking ของกลุ่มตัวอย่างและเจาะเลือดตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 โดยวิธี ECLIA Cut off>1 คือ Reactive ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ.2564

ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด 19 และปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการมีแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) ที่พบร่วมกันได้แก่ เพศ กลุ่มอายุ อาชีพ สมาชิกในครอบครัว โรคประจำตัว ประวัติการสัมผัสกลุ่มเสี่ยงสูง ประเภทกลุ่มเสี่ยงสูง ประวัติการได้รับวัคซีน โดยการติดเชื้อโควิด 19 มีปัจจัยของการรับรู้ระดับความเสี่ยงเพิ่มอีก 1 ปัจจัยและการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 มีปัจจัยการมีประวัติการติดเชื้อโควิด 19 เข้ามาเกี่ยวข้อง ผลการสร้างรูปแบบการติดตามและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในชุมชนเขตเมือง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การตัดวงจรระบาด การค้นหาผู้ติดเชื้อโดยเร็ว 2) การจัดระบบส่งต่อ โดยการแยกผู้ติดเชื้อออกจากบุคคลอื่นโดยเร็ว 3) การดูแลครัวเรือน ด้วยการดูแลคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อระหว่างรอการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน และ 4) การเฝ้าระวังผู้ที่หายป่วย โดยการจัดระบบดูแลกลุ่มคนอย่างเหมาะสมทั้งผู้ติดเชื้อ ผู้สัมผัส ผู้ป่วยที่กลับจากโรงพยาบาล และประชาชนทั่วไป

References

World Health Organization. Impact of COVID-19 on people's livelihoods, their health and our food systems [Internet]. 2020 [cited 2023 Feb 20]. Available from: https://www.who.int/news/item/13-10-2020-impact-of-covid-19-on-people's-livelihoods-their-health-and-our-food-systems.

The world bank. Monitoring the impact of COVID-19 in Thailand, Impact of COVID-19 on Thailand's households [Internet]. 2021 [cited 2023 Feb, 20]. Available from: https://www.worldbank.org/en/country/thailand/publication/monitoring-the-impact-of-covid-19-in-thailand.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

United Nation. Launch of policy brief on COVID-19 and cities COVID-19 in an Urban World [Internet]. 2020 [cited 2023 Feb, 20]. Available from: https://www.un.org/en/coronavirus/covid-19-urban-world.

Cod Satrusayang. Authorities warn that Khlong Toey could become a ‘disaster zone’[Internet]. 2021[cited 2023 Feb, 20]. Available from: https://www.thaienquirer.com/27079/authorities-warn-that-khlong-toey-could-become-a-disaster-zone/

The 101 world. คลัสเตอร์-คลองเตย-ความตาย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.the101.world/klong-toey-covid-19/

The active ThaiPBS. เดินหน้าขยาย “โมเดลคลองเตย” จัดการโรคระบาดในชุมชน. สรุปการสนทนา “โควิด-19 รุกคลองเตย: ช่วยชีวิต ปิดจุดเสี่ยง ครั้งที่ 2” ชู “ศูนย์พักคอยวัดสะพาน” จุดเด่นคุมโรคระบาดชุมชน เปิดแผนชุมชนจัดการตนเองกู้วิกฤต เร่งถอดบทเรียน ขยายต้นแบบสู่พื้นที่อื่น[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://theactive.net/data/covid19-khlong-toei-model-ep2/

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. 2 ปีโควิด-19 (2) พอช. –ขบวนองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่าย : ถอดบทเรียนการจัดการโควิดโดยชุมชน “ชุมชนจัดการได้ อยู่ร่วมกันได้” [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://web.codi.or.th/20211126-28866/

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย:เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.

Dupraz J, Butty A, Duperrex, Estoppey S, Faivre V, Thabard J, et al. Prevalence of SARS-CoV-2 in household members and other close contacts of COVID-19 cases: A serologic study in canton of Vaud, Switzerland. OFID 2021; 8(7): 1-11.

Hasan T, Pham TN, Nguyen TA, Le HTT, Le DV, Dang TT, et al. Sero-prevalence of SARS-CoV-2 antibodies in high-risk populations in Vietnam. Int J Environ Res Public Health 2021; 18(12): 6353.

Bogogiannidou Z, Speletas M, Vontas A, Nikoulis DJ, Dadouli K, Kyritsi MA, et al. Repeated leftover serosurvey of SARS-CoV-2 IgG antibodies in Greece, May to August 2020. Vaccines (Basel) 2021; 9(5): 504.

Sam IC, Chong YM, Tan CW, Chan YF. Low post pandemic wave SARS-CoV-2 seroprevalence in Kuala Lumpur and Selangor, Malaysia. J Med Virol 2021; 93(2): 647-8.

Gidding HF, Machalek DA, Hendry AJ, Quinn HE, Vette K, Beard FH. Seroprevalence of SARS-CoV-2-specific antibodies in Sydney, Australia following the first epidemic wave in 2020. Med J Aust 2020; 214(4): 179-85.

Tseng WP, Wu JL, Wu CC, Kuo KT, Lin CH, Chung MY, et al. Seroprevalence surveys for anti-SARS-CoV-2 antibody in different populations in Taiwan with low incidence of COVID-19 in 2020 and severe outbreaks of SARS in 2003. Front Immunol 2021; 12: 626609.

Stringhini S, Wisniak A, Piumatti G, Azman AS, Lauer SA, Baysson H, et al. Seroprevalence of anti-SARS-CoV-2 IgG antibodies in Geneva, Switzerland (SEROCoV-POP): a population-based study. Lancet 2020; 396(10247): 313-9.

Petersen MS, Kristiansen MF, Reinert HW, Fjallsbak JP, Christiansen DH, Gaini S, et al. Seroprevalence of SARS-CoV-2–specific antibodies among quarantined close contacts of COVID-19 patients, Faroe Islands, 2020. Emerg Infect Dis 2021; 27(11): 2795–2801.

Yang HS, Costa V, Racine-Brzostek SE, Acker KP, Yee J, Chen Z, et al. Association of age with SARS-CoV-2 antibody response. JAMA Netw Open 2021; 4(3). e214302.

Bonanni P, Canton R, Gill D, Halfon P, Liebert UG, Crespo KAN, et al. The role of serology testing to strengthen vaccination initiatives and policies for COVID-19 in Europe. MDPI 2021; 1(1): 20-38.

Soares P, Rocha JV, Moniz M, Gama A, Laires PA, Pedro AR, et al. Factors associated with COVID-19 vaccine hesitancy. MDPI 2021; 9(3): 300.

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานทางระบาดวิทยา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12