การประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อนจากการทำงานของเกษตรกรทำงานกลางแจ้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิพัฒน์พงษ์ โลแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เกษตรกรทำงานกลางแจ้ง, ความร้อน, การประเมินความเสี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการเจ็บป่วยจากการสัมผัสความร้อน ในเกษตรกรทำงานกลางแจ้งจำนวน 76 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 – เมษายน พ.ศ. 2565 ด้วยการสัมภาษณ์ ตรวจวัดความร้อน (อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ) วัดความชื้นและความเร็วลม และประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยโดยอาศัยเมตริกความเสี่ยงที่คํานึงถึงโอกาสและความรุนแรงของการป่วยจากความร้อน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56.37 ปี สถานภาพแต่งงานหรืออยู่ด้วยกันร้อยละ 75.00 ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ที่ระดับประถมศึกษาร้อยละ 73.84 และเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชกลุ่มธัญพืชเป็นหลักคือ ข้าว ร้อยละ 93.42 ซึ่งเป็นเจ้าของไร่เองร้อยละ 64.08 อยู่บนพื้นที่ทำการเกษตรที่น้อยกว่า 10 ไร่ พบว่าอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบอยู่ระหว่าง 26.80- 33.90 องศาเซลเซียส ความเร็วลมเฉลี่ย 0.8–3.1 เมตร/วินาที ความชื้นสัมพัทธ์ 53% – 66% ค่าเฉลี่ย WBGT 32-34 °C ร้อยละ 68.42 มีภาระงานหนัก (>350 กิโลแคลอรี่/ชม.) ร้อยละ 89.80 ระดับความรุนแรงของการเกิดการป่วยจากความร้อนโดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 0 (ไม่มีอาการ) ร้อยละ 36.84 รองลงมามีความรุนแรงอยู่ในระดับที่ 3 (อาการรุนแรงมาก) ได้แก่ เป็นลม หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น ร้อยละ 35.53  และระดับที่ 2 (อาการรุนแรงปานกลาง) ได้แก่ ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ หายใจตื้นๆบ่อยๆ อุณหภูมิร่างกายสูง เป็นต้น ร้อยละ 13.16 หากจำแนกอาการเจ็บป่วยจากความร้อนตามรายอาการพบว่า อาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยที่สุด 3 ลำดับแรก  ได้แก่ เหนื่อยล้าจากความร้อน (กลุ่มอาการความรุนแรงระดับสูง) ร้อยละ 31.58 รองลงมาคือ ปวดศีรษะ (กลุ่มอาการความรุนแรงระดับเล็กน้อย) ร้อยละ 25.00 และหิวน้ำอย่างรุนแรง (กลุ่มอาการความรุนแรงระดับเล็กน้อย) ร้อยละ 22.37 ระดับความเสี่ยงพบระดับ 2 (ต่ำ) ร้อยละ 38.16 ระดับ 3 (ปานกลาง) ร้อยละ 15.79 และระดับ 4 (สูง) ร้อยละ 35.53 ระดับ 5 (สูงมาก) ร้อยละ 10.53 ดังนั้น เสนอแนะให้ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อหาวิธีการแก้ไขหรือลดความเสี่ยง จัดการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงนั้นให้มีการลดภาระงานลง โดยอาจลดระยะเวลาทำงาน มีเวลาพักมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยจากความร้อน การศึกษาครั้งต่อไปควรขยายผลไปสู่การหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดการป่วยจากความร้อนเพื่อการป้องกันการป่วยจากความร้อนในเกษตรกร

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. ฤดูกาล ฤดูกาลของโลก ฤดูกาลของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. มปป [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://tmd-dev.azurewebsites.net/info/%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ, สุนิสา ชายเกลี้ยง, อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์. การประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อนจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูก อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2563; 13(2): 45-63.

Radir AF, Hashim Z, Phan K, Sao V, Hashim JH. The impact of heat on health and productivity among sugarcane workers in Kampong Cham, Cambodia. APEOHJ 2017; 3(1): 9-19.

Boonruksa P, Maturachon T, Kongtip P, Woskie S. Heat stress, physiological response, and heat-related symptoms among Thai sugarcane workers. Int J Environ Res Public Health 2020; 17(17): 6363.

สมจิต แดนสีแก้ว, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, เกศินี สราญฤทธิชัย. ประสบการณ์ของชาวนาในการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำนา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558; 33(1): 134–44.

อุมา ลางคุลเสน, นันทวรรณ วิจิตรวาทการ. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความร้อนที่มีต่อเกษตรกรและพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 26(4): 680–93.

Xiang J, Bi P, Pisaniello D, Hansen A, Sullivan T. Association between high temperature and work-related injuries in Adelaide, South Australia, 2001–2010. Occup Environ Med 2014; 71 (4): 246–52.

Bethel JW, Harger R. Heat-Related Illness among Oregon Farmworkers. Int J Environ Res Public Health 2014; 11(9): 9273–85.

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ธานี แก้วธรรมานุกูล, อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์, วิไลพรรณ ใจวิไล. สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพด. พยาบาลสาร 2562; 46(1), 5-17.

กรกนก พลท้าว, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรจากการเพาะปลูกมะเขือเทศเก็บเมล็ดพันธุ์บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(3): 31–8.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2555.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. โปรแกรมประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการสัมผัสความร้อน เนื่องจากการทำงานของเกษตรกลุ่มเพาะปลูก ลิขสิทธิ์เลขที่ ว.044852. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2563.

กระทรวงแรงงาน. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนที่ 91ก. หน้า 48-54.

ธัญญารัตน์ ทราบจังหรีด, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับความร้อนของเกษตรกร ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2559; 9(2): 53-9.

Crowe J, Moya-Bonilla JM, Román-Solano B, Robles-Ramírez A. Heat exposure in sugarcane workers in Costa Rica during the non-harvest season. Glob Health Action 2010; 3: 1-9.

Frimpong K, Van Etten EJE, Oosthuzien J, Nunfam VF. Heat exposure on farmers in northeast Ghana. Int J Biometeorol 2017; 61(3): 397–406.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30