ผลการพัฒนาโปรแกรมแผนที่ทางภูมิศาสตร์ สำหรับการเฝ้าระวังชนิดยุงพาหะนำโรค พื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 ในปี พ.ศ. 2563 – 2565

ผู้แต่ง

  • วิรัลพัชร ดิษฐาพันธ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • ฝนทิพย์ บุตระมี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • มุกดา ราโช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมแผนที่ทางภูมิศาสตร์, GIS, ยุงพาหะนำโรค

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมแผนที่ทางภูมิศาสตร์ สำหรับการเฝ้าระวังชนิดยุงพาหะนำโรคในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 (2) เพื่อทดลองใช้โปรแกรมแผนที่ทางภูมิศาสตร์สำหรับการเฝ้าระวังชนิดยุงพาหะนำโรค และ (3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลโปรแกรมแผนที่ทางภูมิศาสตร์สำหรับการเฝ้าระวังชนิดยุงพาหะนำโรค กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ประโยชน์ระบบจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.1 จังหวัดอุดรธานี ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.2 จังหวัดเลย ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.3 จังหวัดสกลนคร และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี รวมทั้งสิ้นจำนวน 19 คน ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ โปรแกรม GIS ประเด็นการสนทนากลุ่ม  และแบบประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุง คือระบบข้อมูลการศึกษาทางกีฏวิทยายุงพาหะนำโรค นำไปสู่การออกแบบและพัฒนาการประเมินความเสี่ยงของชนิดยุงพาหะ โดยแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (GIS) 2) ต้นแบบนวัตกรรมโปรแกรมแผนที่ทางภูมิศาสตร์ สำหรับการเฝ้าระวังชนิดยุงพาหะนำโรค พื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 ในปีพ.ศ. 2563 – 2565  โดยมีผลลัพธ์ในการจัดทำ 2 ส่วน ได้แก่ แบบฟอร์มนำเข้าข้อมูล และส่วนแสดงผลข้อมูล 3) แนวโน้มชนิดของยุงพาหะนำโรคที่พบมากที่สุดในปี พ.ศ. 2563 – 2565 คือ ยุงก้นปล่อง  4) ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการใช้ประโยชน์การประเมินความเสี่ยงของชนิดยุงพาหะโดยใช้แผนที่ทางภูมิศาสตร์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.17)

          ผลจากการพัฒนาการประเมินความเสี่ยงของชนิดยุงพาหะโดยแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (GIS) สามารถใช้ประเมินความเสี่ยงของชนิดยุงพาหะในพื้นที่ได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้น ผู้ดูแลโปรแกรมควรถ่ายทอดและจัดทำคู่มือการใช้ระบบต่อไป

References

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ict.moph.go.th/upload_file/files/e5ce1222011b38e3d3ee8b73468ba7ee.pdf.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: 2. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน); 2552.

สำนักส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. ลพบุรี: ลพบุรีดีไซน์; 2561.

ศูนย์โรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.3 จังหวัดสกลนคร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. สรุปผลการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุง ปีงบประมาณพ.ศ. 2562; 2562.

สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงาน สำนักงาน ก.พ.. ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thai-gov-system-context-thailand-4-0.pdf.

สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์, ชนันธร ขัติยะ. ระบบแผนที่ออนไลน์เพื่อรายงานแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายกรณีศึกษาตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 2559; 10(2): 190-9.

ชนม์ธนัช สุวรรณ, รัชฎาภรณ์ ทองแป้น. การจัดทำฐานข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: กรณีเทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารบัณฑิตวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2562; 10(1): 219-34.

สุกัญชลิกา บุญมาธรรม. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล). วารสารวิชาการ นวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2563; 7(1): 51-62.

Atoni E, Zhao L, Hu C, Ren N, Wang X, Liang M, et al. A dataset of distribution and diversity of mosquito-associated viruses and their mosquito vectors in China. Scientific data 2020; 7(342): 1-7.

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ. การออกแบบเครื่องหมายบนแผนที่เพื่อใช้กำกับความหมายบ่งชี้จุดท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย 2562; 10(2): 2871-82.

ชนะชัย อวนวัง. ระบบสารสนเทศการจัดทำระบบคลังพืชสมุนไพรในพื้นที่สวนสมุนไพร 90 พรรษาพระบารมีปกเกล้า ประชารัฐร่วมใจถวายพ่อหลวง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2563; 17(76): 300-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย