ประสิทธิผลของโปรแกรมลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือและโซเดียมในเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การบริโภคอาหารที่มีเกลือและโซเดียม, จังหวัดแม่ฮ่องสอนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) เปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง (One group pre – posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือและโซเดียม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ที่มีค่าปริมาณโซเดียมในปัสสาวะที่เก็บ 24 ชั่วโมงมีปริมาณมากกว่า 100 มิลลิโมล/ต่อวัน โดยเลือกแบบใช้เกณฑ์คัดเข้าจำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 5 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีเกลือและโซเดียม และการตรวจทางห้องปฏิบัติการหาค่าปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นแบบวัดความรู้โดยวิธี KR-21 มีค่าเท่ากับ 0.68 ทดสอบความเชื่อมั่นแบบวัดทัศนคติและการปฏิบัติโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค ด้านทัศนคติมีค่าเท่ากับ 0.87 และด้านการปฏิบัติมีค่าเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test
ผลวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ 18.78 (S.D.=1.23) ทัศนคติ 41.66 (S.D.=1.97) การปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคเกลือและโซเดียม 38.28 (S.D.=3.13) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยของปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง 122.16 (S.D.=47.17) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
ข้อเสนอแนะ ผู้รับผิดชอบงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ควรจัดกิจกรรมอบรมเชิงลึกที่มีเนื้อหาเข้มข้น พร้อมทั้งใช้เวลาที่จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตให้นานขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ เกิดทัศนคติที่ดี และมีความมั่นใจ ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมบูรณาการงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับกลุ่มงานเวชกรรมสังคม เพื่อนำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในครอบครัวของเจ้าหน้าที่และชุมชนต่อไป
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 - 2568. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
สิทธิพงษ์ ยิ้มสวัสดิ์. การศึกษาความชุกของการรับประทานโซเดียมปริมาณสูงในประชากรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566; 32(3): 400-16.
Bloom BS. Taxonomy of educational objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York; David McKay; 1956.
ชลธิชา บุญศิริ, นพวรรณ เปียซื่อ, พรรณวดี พุธวัฒนะ, สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อความรู้และปริมาณโซเดียมในปัสสาวะของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล 2560; 32(3): 104-19.
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี; อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
ณิชาภัทร มณีพันธ์, ณรงค์กร ชัยวงศ์, เวียงพิงค์ ทวีพูล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์. งานวิจัยนำเสนอเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ คณะพยาบาลศาสตร์ มรภ.อุบล วันที่ 7 พฤษภาคม 2564.
ปรัศนี ศรีกัน, สมศรี ทาทาน, วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล, ชลธิมา ปิ่นสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง และปริมาณโซเดียมในปัสสาวะของนักศึกษาและบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2561; 34(3): 21-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น