การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในเรือนจำ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ระบบเฝ้าระวัง , โรคและภัยสุขภาพ , เรือนจำบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในเรือนจำจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) บุคลากรที่รับผิดชอบงานเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากเรือนจำจังหวัดร้อยเอ็ด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2) ผู้คุม และผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค ระยะที่ 2 ดำเนินการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (PAOR) ได้แก่ วางแผน (Planning) ปฏิบัติ (Action) สังเกตการณ์ (Observation) และสะท้อนผลลัพธ์ (Reflecting) ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาครั้งนี้ ได้กลยุทธ์ DISC & M ในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในเรือนจำจังหวัดร้อยเอ็ด โดย D: Database นำโปรแกรม HOSxP จัดเก็บข้อมูล ส่งข้อมูล Online เชื่อมต่อกับศูนย์ข้อมูลของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด และส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเฝ้าระวัง รง.506 ตามระบบ I: Integrate จัดทำ Flow การรายงานข้อมูล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย S: Screening การคัดกรองโรคในเรือนจำ C: Competency การพัฒนาศักยภาพทีมเจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาลเรือนจำร้อยเอ็ด และตัวแทนผู้ต้องขังในเรือนจำร้อยเอ็ด (อาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ: อสรจ.) และ M: Monitoring and Evaluation การติดตามและประเมินผลในทุกกระบวนการ ผลการประเมินระบบฯ พบว่า เจ้าหน้าที่พยาบาลในเรือนจำ ผู้คุม อสรจ. เจ้าหน้าที่ รพ.ร้อยเอ็ด สสจ.ร้อยเอ็ด และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น มีความพึงพอใจ ร้อยละ 100.0 การรายงานเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังมีความครบถ้วนร้อยละ 95.0 ทันเวลาร้อยละ 98.3 สอบสวนควบคุมการระบาดภายใน 24 ชั่วโมงร้อยละ 100.0 ลดค่าใช้จ่ายในการควบคุมการระบาดของโรค ร้อยละ 92.9 โดยมีการขยายผลการดำเนินงานไปในเรือนจำทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น และเขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
References
World Prison Brief. Institute for Crime & Justice Policy Research [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prisonstudies.org/about-us.
The Standard. คนล้นคุก!ไทยติดอันดับ 6 ผู้ต้องขังมากที่สุดในโลก อันดับ 3 ของเอเชีย เป็นรองแค่จีนและอินเดีย [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/world-prison-population-list-thai-6th/
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. เจาะปัญหาตัวเลข คนล้นคุก และนักโทษติดซ้ำ[อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ30 กันยายน2561]. เข้าถึงได้จาก: https://tja.or.th/view/news/13732.
กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม. รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2018-10-01&report=
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 7 ; 2561. (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานการสอบสวนโรคในเรือนจำ; 2561. (เอกสารอัดสำเนา)
กองระบาดวิทยา. แนวทางการเฝ้าระวัง การคัดกรอง และการสอบสวน โรคและภัยสุขภาพที่สำคัญในเรือนจำ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
Kemmis S, Mc Taggart R, Nixon R. The Action Research Planner. Deakin University Press: Victoria; 1982.
Ronald MW. Introduction to BusinessStatistics. International Student Edition. 5th ed. Pennsylvania, USA: Duxbury Press,Thomson - Brooks/cole; 2005.
ละเอียด ศิลาน้อย. การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบุรีรัมย์ 2560; 12(2): 50-8.
เจษฎา ธนกิจเจริญกุล. ระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุขและการประเมินระบบเฝ้าระวัง. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2561. (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี. การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา; 2561. (เอกสารอัดสำเนา)
เกษร แถวโนนงิ้ว, สุพัฒน์ ธาตุเพชร, เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, ปักษิณ สารชัย. การพัฒนารูปแบบระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อระดับอำเภอ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค 2558; 41(4): 329-40.
สุพัตรา บุญยืน, กุลชญา ลอยหา, เด่นดวงดี ศรีสุระ. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในโรงพยาบาล. วารสารศรีวนาลัยวิจัย 2565; 12(1): 111-24.
สำราญ เหล็กงาม, บุศนี มุจรินทร์, อภิชัย สะดีวงศ์. การระบาดของโรคหัดในผู้ต้องขังเรือนจำแห่งหนึ่งจังหวัดอำนาจเจริญ เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2561. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2562; 17(2): 48-58.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น